สถานการณ์ที่ทำให้เราต้องไปศึกษา... ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรามีประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ
ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์ กระจายอยู่ด้วยกันในหลายพื้นที่ ความยากลำบากของการทำงานในพื้นที่เหล่านี้
คือ ทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่และผู้นำชุมชนจะต้องเข้าใจ และเข้าถึง ความรู้สึกนึกคิด
ทัศนคติ และวิถีชีวิตของชาวบ้านทุกฝ่าย เพื่อให้การพัฒนาหมู่บ้านเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ราบรื่น หากมีปัญหาก็สามารถแก้ไขได้ด้วยสันติวิธี
เหตุผลที่เลือกพื้นที่ “บ้านสมอเซ” เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน... เนื่องจากบ้านสมอเซเป็นพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนค่อนข้างโดดเด่น การพัฒนาหมู่บ้านด้านอื่นๆ ก็เป็นไปด้วยความราบรื่น เรียบร้อย ชาวบ้านให้ความร่วมมือ มีความสามัคคี และที่สำคัญคือที่นี่มีชาวบ้านที่นับถือศาสนาอิสลาม และชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธอยู่ด้วยกัน ประกอบกับบริบทของพื้นที่มีคลอง การติดต่อ ประสานงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก เราจึงต้องการศึกษาว่าผู้นำชุมชน เขามีเทคนิควิธีการทำงานอย่างไร เพื่อจะได้นำเอาวิธีการเหล่านี้ไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ ที่มีสภาพของหมู่บ้านใกล้เคียงกันได้บ้าง
ทำไมพื้นที่ที่มีทั้งพุทธและอิสลามอยู่ด้วยกันจึงแตกต่างจากพื้นที่อื่น... เหตุผลที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ คือ ความแตกต่างทางด้านการนับถือศาสนา ทำให้ทัศนคติ ความรู้สึกนึกคิด และวิถีชีวิตของชาวบ้านแตกต่างกัน ดังนั้น การทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ที่ทั้งผู้ที่นับศาสนาพุทธและอิสลามอยู่ด้วยกัน จึงต้องมีวิธีการทำงานที่แตกต่างจากพื้นที่ที่มีชาวบ้านนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเพียงศาสนาเดียว
บริบทของบ้านสมอเซ... ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมคลองสมอเซทั้งสองฝั่งคลอง ซึ่งจากการเล่าขานว่าในอดีตกาลพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นอ่าวชายฝั่ง เป็นเส้นทางเดินเรือสำเภา ครั้งเมื่อเกิดเหตุพายุพัดแรง ชาวเรือจึงทิ้งสมอเพื่อหยุดเรือ แต่เรือเกิดเสียการทรงตัวไปติดอยู่ที่เกาะไร่ จึงกลายเป็นชื่อเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “สมอเซ” ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลคลองเปรง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีจำนวนครัวเรือน 55 ครัวเรือน ประชากร 272 คน แยกเป็นเพศหญิง 132 คน เพศชาย 140 คน ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และบางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม
ลักษณะการประกอบอาชีพและประเพณีวัฒนธรรม... ชาวบ้านสมอเซห์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ประมาณร้อยละ 60 รองลงมา คือ อาชีพรับจ้างทั่วไป ประมาณร้อยละ 29 และอาชีพอื่นๆ อีกประมาณร้อยละ 11 มีประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละศาสนาของหมู่บ้าน คือ ศาสนาอิสลาม มีประเพณีการขึ้นสปัน การแต่งงาน (ตามหลักศาสนาอิสลาม) ดื่มน้ำชาการกุศล นาเสป ลิเกฮูลู และศาสนาพุทธมีประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น รดน้ำดำหัว ทำบุญขวัญข้าว งานแต่งงาน งานบวช เป็นต้น
เหตุผลที่เลือกพื้นที่ “บ้านสมอเซ” เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน... เนื่องจากบ้านสมอเซเป็นพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนค่อนข้างโดดเด่น การพัฒนาหมู่บ้านด้านอื่นๆ ก็เป็นไปด้วยความราบรื่น เรียบร้อย ชาวบ้านให้ความร่วมมือ มีความสามัคคี และที่สำคัญคือที่นี่มีชาวบ้านที่นับถือศาสนาอิสลาม และชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธอยู่ด้วยกัน ประกอบกับบริบทของพื้นที่มีคลอง การติดต่อ ประสานงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก เราจึงต้องการศึกษาว่าผู้นำชุมชน เขามีเทคนิควิธีการทำงานอย่างไร เพื่อจะได้นำเอาวิธีการเหล่านี้ไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ ที่มีสภาพของหมู่บ้านใกล้เคียงกันได้บ้าง
ทำไมพื้นที่ที่มีทั้งพุทธและอิสลามอยู่ด้วยกันจึงแตกต่างจากพื้นที่อื่น... เหตุผลที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ คือ ความแตกต่างทางด้านการนับถือศาสนา ทำให้ทัศนคติ ความรู้สึกนึกคิด และวิถีชีวิตของชาวบ้านแตกต่างกัน ดังนั้น การทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ที่ทั้งผู้ที่นับศาสนาพุทธและอิสลามอยู่ด้วยกัน จึงต้องมีวิธีการทำงานที่แตกต่างจากพื้นที่ที่มีชาวบ้านนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเพียงศาสนาเดียว
บริบทของบ้านสมอเซ... ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมคลองสมอเซทั้งสองฝั่งคลอง ซึ่งจากการเล่าขานว่าในอดีตกาลพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นอ่าวชายฝั่ง เป็นเส้นทางเดินเรือสำเภา ครั้งเมื่อเกิดเหตุพายุพัดแรง ชาวเรือจึงทิ้งสมอเพื่อหยุดเรือ แต่เรือเกิดเสียการทรงตัวไปติดอยู่ที่เกาะไร่ จึงกลายเป็นชื่อเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “สมอเซ” ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลคลองเปรง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีจำนวนครัวเรือน 55 ครัวเรือน ประชากร 272 คน แยกเป็นเพศหญิง 132 คน เพศชาย 140 คน ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และบางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม
ลักษณะการประกอบอาชีพและประเพณีวัฒนธรรม... ชาวบ้านสมอเซห์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ประมาณร้อยละ 60 รองลงมา คือ อาชีพรับจ้างทั่วไป ประมาณร้อยละ 29 และอาชีพอื่นๆ อีกประมาณร้อยละ 11 มีประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละศาสนาของหมู่บ้าน คือ ศาสนาอิสลาม มีประเพณีการขึ้นสปัน การแต่งงาน (ตามหลักศาสนาอิสลาม) ดื่มน้ำชาการกุศล นาเสป ลิเกฮูลู และศาสนาพุทธมีประเพณีวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น รดน้ำดำหัว ทำบุญขวัญข้าว งานแต่งงาน งานบวช เป็นต้น
วิธีการทำงานพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชนบ้านสมอเซ... จาการถอดบทเรียน มีวิธีการทำงานที่สำคัญ 4 ข้อ
ดังนี้
1. การประสานงานสื่อสารข้อมูลข่าวสารในหมู่บ้าน... จะใช้วิธีออกหนังสือไปยังคณะกรรมการหมู่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้านจะนำไปบอกต่อลูกบ้านโดยแบ่งโซนการประสานงาน จะมีการโทรศัพท์บอก และก่อนจะเริ่มการประชุมหรือเริ่มกิจกรรมก็จะประกาศเสียงตามสาย เตือนให้ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมอีกครั้งหนึ่ง และที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจะประสานผู้นำศาสนา
2. การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน...เพื่อให้บ้านสมอเซได้รับความร่วมมือ ข้อมูลข่าวสารทั่วถึง โดยการใช้วิธีประชาคมหมู่บ้าน ในการประชาคมให้ตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมอย่างน้อย 1 คน ในการจัดประชุม/ประชาคมของหมู่บ้านต้องเลือกเวลาและโอกาสที่สะดวกของชาวบ้านส่วนใหญ่ โดยเลี่ยงเวลาที่มีการละหมาด (ศาสนาอิสลาม) เพื่อให้ชาวบ้านได้มีมาร่วมกิจกรรมของหมู่บ้านอย่างครบถ้วน
3. การจัดการกับปัญหาของชุมชน...บ้านสมอเซ ใช้วิธีการไกล่เกลี่ย หากเป็นเรื่องปัญหาทั่วไปมีศูนย์ไกล่ระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล หากเกี่ยวข้องกับบุคคลต่างศาสนาใช้ผู้นำศาสนามาเกี่ยวข้อง โดยหลักศาสนาอิสลามจะมีหลักทางศาสนาที่ยึดถือและปฏิบัติ ปัญหาที่เป็นลักษณะของชุมชนใช้วิธีประชาคม เพื่อหาข้อมูล แนวทางการแก้ไขปัญหา และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกิจกรรมด้วย
4. การใช้เครื่องมือดำเนินกิจกรรมในหมู่บ้าน... จะยึดหลักในการใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการทำงาน ใช้วันสำคัญทางศาสนา และวันสำคัญทางราชการ เป็นวันกำหนดทำกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน มีการจัดเก็บข้อมูลของชุมชน เช่น จปฐ. กชช.2ค ข้อมูลประชากร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มการประกอบอาชีพในหมู่บ้าน ได้แก่ กลุ่มขนมหวาน กลุ่มทำไม้กวาด
ปัจจัยความสำเร็จของหมู่บ้านในวันนี้... จากการถอดบทเรียนเราพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาบ้านสมอเซ ดังนี้
1. การประสานงานสื่อสารข้อมูลข่าวสารในหมู่บ้าน... จะใช้วิธีออกหนังสือไปยังคณะกรรมการหมู่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้านจะนำไปบอกต่อลูกบ้านโดยแบ่งโซนการประสานงาน จะมีการโทรศัพท์บอก และก่อนจะเริ่มการประชุมหรือเริ่มกิจกรรมก็จะประกาศเสียงตามสาย เตือนให้ชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมอีกครั้งหนึ่ง และที่เกี่ยวข้องกับศาสนาจะประสานผู้นำศาสนา
2. การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน...เพื่อให้บ้านสมอเซได้รับความร่วมมือ ข้อมูลข่าวสารทั่วถึง โดยการใช้วิธีประชาคมหมู่บ้าน ในการประชาคมให้ตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมอย่างน้อย 1 คน ในการจัดประชุม/ประชาคมของหมู่บ้านต้องเลือกเวลาและโอกาสที่สะดวกของชาวบ้านส่วนใหญ่ โดยเลี่ยงเวลาที่มีการละหมาด (ศาสนาอิสลาม) เพื่อให้ชาวบ้านได้มีมาร่วมกิจกรรมของหมู่บ้านอย่างครบถ้วน
3. การจัดการกับปัญหาของชุมชน...บ้านสมอเซ ใช้วิธีการไกล่เกลี่ย หากเป็นเรื่องปัญหาทั่วไปมีศูนย์ไกล่ระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล หากเกี่ยวข้องกับบุคคลต่างศาสนาใช้ผู้นำศาสนามาเกี่ยวข้อง โดยหลักศาสนาอิสลามจะมีหลักทางศาสนาที่ยึดถือและปฏิบัติ ปัญหาที่เป็นลักษณะของชุมชนใช้วิธีประชาคม เพื่อหาข้อมูล แนวทางการแก้ไขปัญหา และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกิจกรรมด้วย
4. การใช้เครื่องมือดำเนินกิจกรรมในหมู่บ้าน... จะยึดหลักในการใช้แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการทำงาน ใช้วันสำคัญทางศาสนา และวันสำคัญทางราชการ เป็นวันกำหนดทำกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน มีการจัดเก็บข้อมูลของชุมชน เช่น จปฐ. กชช.2ค ข้อมูลประชากร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มการประกอบอาชีพในหมู่บ้าน ได้แก่ กลุ่มขนมหวาน กลุ่มทำไม้กวาด
ปัจจัยความสำเร็จของหมู่บ้านในวันนี้... จากการถอดบทเรียนเราพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาบ้านสมอเซ ดังนี้
- ความเชื่อถือศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อผู้นำชุมชน
- ความเป็นกลางของผู้นำชุมชน
- ความศรัทธาต่อผู้นำศาสนา/ผู้นำธรรมชาติ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- ผู้นำชุมชนได้รับการยอมรับจากประชาชน
- ความเข้มแข็งของชุมชน
- บรรพบุรุษที่มีจิตอาสาและเป็นแบบอย่างที่ดี
- ชุมชนมีองค์ความรู้ที่หลากหลาย
- มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่ลูกหลาน
- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ำเสมอ
- มีจุดศูนย์รวมทางจิตใจ วัดและมัสยิด
ศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญในการผูกประสานความคิดของมวลชน
ตอบลบเห็นด้วย
ตอบลบเป็นการพัฒนาองค์ความรู้สู่ชุมชน
ตอบลบเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ให้ชุมชน
ตอบลบบรรยายซะเห็นภาพเลย
ตอบลบsalamad
ตอบลบเขียนได้พอเพียงนะเนี่ย
ตอบลบ