สถานการณ์ที่ทำให้เราต้องไปศึกษา... อำเภอแปลงยาว เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนความหลากหลายทางสังคม
ทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ชุมชนในเมืองและชนบท วัฒนธรรมความเป็นอยู่
การประกอบอาชีพ และทางศาสนา
ทำให้การดำเนินชีวิตของอำเภอแปลงยาวจึงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ
ด้านศาสนา ซึ่งในอำเภอแปลงยาว มีทั้งหมด 4
ตำบล 48 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านจะประกอบอาชีพการทำสวนยางพารา
และรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นจำนวนมาก วิถีชีวิตของชาวบ้านก็เปลี่ยนไปจากเดิมแต่ก่อน ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกข้าว ปลูกพริก
ปลูกสับปะรด
แต่ในปัจจุบันหันมาปลูกยางพารากันมาก คิดเป็นร้อยละ 86 ในอำเภอแปลงยาว
การดำรงชีวิตก็เปลี่ยนไปเข้านอนเร็วเพื่อตื่นแต่เช้ามืด
บางครอบครัวต้องลุกขึ้นตื่นมากรีดยาง บางก็รับจ้างกรีดยาง ตั้งแต่สี่ถึงห้านาฬิกา
จะเสร็จก็ประมาณ เจ็ดถึงแปดนาฬิกา
แต่อย่างไรก็ตามในอำเภอนี้ ก็ยังมีหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มี
การนับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 60 ของหมู่บ้านนั้น คือ บ้านหนองปลาไหล หมู่ที่
1 ตำบลอหนองไม้แก่น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
เหตุผลที่เลือกพื้นที่ “บ้านหนองปลาไหล” เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน... เนื่องจากบ้านหนองปลาไหลนับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 60 ของหมู่บ้าน เป็นพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนค่อนข้างโดดเด่น การมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้นำเข้มแข็ง และชุมชนมีความสามัคคีกัน และตรงต่อเวลาในการประชุมทุกครั้ง และที่สำคัญคือที่นี่มีชาวบ้านที่นับถือศาสนาอิสลาม และชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธอยู่ด้วยกัน เราจึงต้องการศึกษาว่าทำอย่างไรชุมชนนี้จึงอยู่กันได้อย่างพี่น้อง ทั้ง ๆ ที่มีการนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน เขามีเทคนิควิธีการทำงานอย่างไร เพื่อจะได้นำเอาวิธีการเหล่านี้ไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ ที่มีสภาพของหมู่บ้านใกล้เคียงกันได้บ้าง
เหตุผลที่เลือกพื้นที่ “บ้านหนองปลาไหล” เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน... เนื่องจากบ้านหนองปลาไหลนับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 60 ของหมู่บ้าน เป็นพื้นที่ที่มีผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาชุมชนค่อนข้างโดดเด่น การมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้นำเข้มแข็ง และชุมชนมีความสามัคคีกัน และตรงต่อเวลาในการประชุมทุกครั้ง และที่สำคัญคือที่นี่มีชาวบ้านที่นับถือศาสนาอิสลาม และชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธอยู่ด้วยกัน เราจึงต้องการศึกษาว่าทำอย่างไรชุมชนนี้จึงอยู่กันได้อย่างพี่น้อง ทั้ง ๆ ที่มีการนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน เขามีเทคนิควิธีการทำงานอย่างไร เพื่อจะได้นำเอาวิธีการเหล่านี้ไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ ที่มีสภาพของหมู่บ้านใกล้เคียงกันได้บ้าง
ทำไมพื้นที่ที่มีทั้งพุทธและอิสลามอยู่ด้วยกันจึงแตกต่างจากพื้นที่อื่น... เหตุผลที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ คือ
ความแตกต่างทางด้านการนับถือศาสนา ทำให้ทัศนคติ ความรู้สึกนึกคิด
และวิถีชีวิตของชาวบ้านแตกต่างกัน ดังนั้น การทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ที่ทั้งผู้ที่นับศาสนาพุทธและอิสลามอยู่ด้วยกัน
จึงต้องมีวิธีการทำงานที่แตกต่างจากพื้นที่ที่มีชาวบ้านนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเพียงศาสนาเดียว
หลักคิดในการทำงานของพัฒนาชุมชน... ความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนมีแนวคิดในการทำงาน ดังนี้
1.การพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มองค์กร/ประชาชนในและนอกชุมชน เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
2.ระดมพลังความคิดจากกลุ่มองค์กร ผู้นำ ประชาชน กำหนดแนวทางการบริหารร่วมกัน
3.มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและถ่ายทอดองค์ความรู้ของชุมชนสู่เยาวชนและผู้สนใจ
4.ระดมทุนและทรัพยากร ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
5.จัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ ในชุมชน
6.การบูรณาการทำงานของหน่วยงานภาคีต่าง ๆ
7.การสร้างความเป็นผู้นำ
วิธีการทำงานพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชนบ้านหนองปลาไหล... มีวิธีการทำงานของที่นี่ก็น่าจะได้วิธีการที่สำคัญ 4 ข้อ ดังนี้
1.การประสานงาน... การประสานงานกันในหมู่บ้านได้แบ่งหน้าที่การทำงานตามผู้นำชุมชนโดยการนำผู้นำของศาสนาของตนเองเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านการบริหารชุมชน ด้านการบริหารกองทุนหมู่บ้าน ด้านการบริหารคณะกรรมการหมู่บ้าน ด้านการบริหารการจัดการป้องกันยาเสพติดในชุมชน โดยเลือกผู้นำชุมชน ประกอบไปด้วย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาพัฒนาชุมชน รวมทั้งอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน จึงทำให้การทำงานของไทยพุทธ และไทยอิสลาม อยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข
2.การสื่อสารข้อมูลข่าวสารในหมู่บ้าน... ชาวบ้านไทยพุทธ และไทยอิสลาม มีการสื่อสารประสานงาน โดยใช้แกนนำของผู้นำ/กรรมการแต่ละศาสนาที่แต่งตั้งในการบริหารชุมชน แยกเป็นสาย ๆ หรือคุ้มต่าง ๆ ในการสื่อสารติดต่อประสานงาน เช่น หากมีหนังสือจากทางราชการ จะถ่ายเอกสารส่งให้ชุมชนตามเป้าหมายที่ทางราชการกำหนด ในกรณีที่เป้าหมายไม่มากนัก ประมาณ 10-20 คน การสื่อสารทางโทรศัพท์มีความจำเป็นมากของชุมชนบ้านหนองปลาไหล เป็นการลดระยะทางในการเดินทางไปแจกหนังสือให้กับชุมชน อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คณะกรรมการหมู่บ้าน และอาสาพัฒนาชุมชนในหมู่บ้าน ได้รับผิดชอบในการเรียกชาวบ้านมาประชุมประจำเดือน และโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการ ในอัตรา 1 : 15 ครัวเรือน
หลักคิดในการทำงานของพัฒนาชุมชน... ความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนมีแนวคิดในการทำงาน ดังนี้
1.การพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มองค์กร/ประชาชนในและนอกชุมชน เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
2.ระดมพลังความคิดจากกลุ่มองค์กร ผู้นำ ประชาชน กำหนดแนวทางการบริหารร่วมกัน
3.มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและถ่ายทอดองค์ความรู้ของชุมชนสู่เยาวชนและผู้สนใจ
4.ระดมทุนและทรัพยากร ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
5.จัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ ในชุมชน
6.การบูรณาการทำงานของหน่วยงานภาคีต่าง ๆ
7.การสร้างความเป็นผู้นำ
วิธีการทำงานพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชนบ้านหนองปลาไหล... มีวิธีการทำงานของที่นี่ก็น่าจะได้วิธีการที่สำคัญ 4 ข้อ ดังนี้
1.การประสานงาน... การประสานงานกันในหมู่บ้านได้แบ่งหน้าที่การทำงานตามผู้นำชุมชนโดยการนำผู้นำของศาสนาของตนเองเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านการบริหารชุมชน ด้านการบริหารกองทุนหมู่บ้าน ด้านการบริหารคณะกรรมการหมู่บ้าน ด้านการบริหารการจัดการป้องกันยาเสพติดในชุมชน โดยเลือกผู้นำชุมชน ประกอบไปด้วย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาพัฒนาชุมชน รวมทั้งอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน จึงทำให้การทำงานของไทยพุทธ และไทยอิสลาม อยู่ด้วยกันอย่างสันติสุข
2.การสื่อสารข้อมูลข่าวสารในหมู่บ้าน... ชาวบ้านไทยพุทธ และไทยอิสลาม มีการสื่อสารประสานงาน โดยใช้แกนนำของผู้นำ/กรรมการแต่ละศาสนาที่แต่งตั้งในการบริหารชุมชน แยกเป็นสาย ๆ หรือคุ้มต่าง ๆ ในการสื่อสารติดต่อประสานงาน เช่น หากมีหนังสือจากทางราชการ จะถ่ายเอกสารส่งให้ชุมชนตามเป้าหมายที่ทางราชการกำหนด ในกรณีที่เป้าหมายไม่มากนัก ประมาณ 10-20 คน การสื่อสารทางโทรศัพท์มีความจำเป็นมากของชุมชนบ้านหนองปลาไหล เป็นการลดระยะทางในการเดินทางไปแจกหนังสือให้กับชุมชน อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คณะกรรมการหมู่บ้าน และอาสาพัฒนาชุมชนในหมู่บ้าน ได้รับผิดชอบในการเรียกชาวบ้านมาประชุมประจำเดือน และโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงานราชการ ในอัตรา 1 : 15 ครัวเรือน
3. การสร้างการมีส่วนร่วม... ได้มีการร่วมกันคิดและหาทางออกในการทำงานร่วมกัน
เช่น การบริหารงานกองทุนหมู่บ้าน
การประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านทุกวันที่ 10 ของเดือน การจัดทำแผนชุมชน
การจัดกิจกรรมวันสำคัญ เช่น วันเด็กแห่งชาติ การแข่งกีฬาโรงเรียน/ชุมชน วันที่12สิงหาคม
และวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี กิจกรรมทางศาสนา มีการเชิญผู้นำทั้ง 2
ศาสนาเข้าร่วมกิจกรรม
การร่วมคิด วางแผนและดำเนินการ หมู่บ้านไทยพุทธและไทยอิสลาม ได้มีการจัดระเบียบหมู่บ้านในการมีส่วนร่วมของทั้งสองศาสนา โดยการใช้โรงเรียนบ้านหนองปลาไหลเป็นศูนย์กลางในการร่วมคิด วางแผนและดำเนินการต่าง ๆ ของกิจกรรมในหมู่บ้าน เช่นการจัดกิจกรรมวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม และวันที่เฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นต้น
กองทุนหมู่บ้านของชุมชน เป็นการบริหารการจัดการของคนในชุมชน และร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานในการบริหารและจัดการกองทุนหมู่บ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสมาชิกไทยพุทธก็คิดดอกเบี้ยตามปกติ แต่ถ้าเป็นสมาชิกไทยอิสลามกู้เงิน การคิดดอกเบี้ยมาเป็นค่าบำรุงให้กับกองทุนหมู่บ้าน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยและค่าบำรุงคิดในอัตราร้อยละ 6 เท่ากัน
ดอกเบี้ยและค่าบำรุงของกองทุนหมู่บ้าน นำมาจัดสรรประโยชน์ให้กับชุมชนบ้านหนองปลาไหล ได้แก่
1. เป็นทุนการศึกษาบุตรของสมาชิก
2. สวัสดิการในการรักษาพยาบาล ในกรณีนอนโรงพยาบาล วันละ 350 บาท
3. ฌาปนกิจสงเคราะห์ของหมู่บ้าน
4. อสม.ดูแลสุขภาพคนในชุมชน
4. การจัดการกับปัญหาในชุมชน...หมู่บ้านหนองปลาไหลมีชาวบ้านไทยพุทธและไทยอิสลาม มีแนวทางการจัดการปัญหาในหมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้
การร่วมคิด วางแผนและดำเนินการ หมู่บ้านไทยพุทธและไทยอิสลาม ได้มีการจัดระเบียบหมู่บ้านในการมีส่วนร่วมของทั้งสองศาสนา โดยการใช้โรงเรียนบ้านหนองปลาไหลเป็นศูนย์กลางในการร่วมคิด วางแผนและดำเนินการต่าง ๆ ของกิจกรรมในหมู่บ้าน เช่นการจัดกิจกรรมวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม และวันที่เฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นต้น
กองทุนหมู่บ้านของชุมชน เป็นการบริหารการจัดการของคนในชุมชน และร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานในการบริหารและจัดการกองทุนหมู่บ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสมาชิกไทยพุทธก็คิดดอกเบี้ยตามปกติ แต่ถ้าเป็นสมาชิกไทยอิสลามกู้เงิน การคิดดอกเบี้ยมาเป็นค่าบำรุงให้กับกองทุนหมู่บ้าน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยและค่าบำรุงคิดในอัตราร้อยละ 6 เท่ากัน
ดอกเบี้ยและค่าบำรุงของกองทุนหมู่บ้าน นำมาจัดสรรประโยชน์ให้กับชุมชนบ้านหนองปลาไหล ได้แก่
1. เป็นทุนการศึกษาบุตรของสมาชิก
2. สวัสดิการในการรักษาพยาบาล ในกรณีนอนโรงพยาบาล วันละ 350 บาท
3. ฌาปนกิจสงเคราะห์ของหมู่บ้าน
4. อสม.ดูแลสุขภาพคนในชุมชน
4. การจัดการกับปัญหาในชุมชน...หมู่บ้านหนองปลาไหลมีชาวบ้านไทยพุทธและไทยอิสลาม มีแนวทางการจัดการปัญหาในหมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้
- ให้ผู้ใหญ่บ้าน ไกล่เกลี่ย ให้ผู้นำชุมชน/คณะกรรมการหมู่บ้าน ที่ใกล้ชิดกับคู่กรณี ไกล่เกลี่ย
- ให้บิดา มารดา และญาติพี่น้อง เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในกรณีของบุตรหลานของตนประพฤติไม่ดี
- หากเกิดกรณีของคนในทางศาสนาใดศาสนาหนึ่งประพฤติไม่ดี ก็ให้ผู้นำศาสนานั้น ๆ มาไกล่เกลี่ย เรียกประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านของทั้งสองศาสนา มาประชุมแก้ไขปัญหา หาทางออกร่วมกันในกรณีข้อ 1-4 ไม่สามารถตกลงกันได้
- P1 : People การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีผู้นำชุมชนเป็นผู้ใหญ่บ้าน ที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมอย่างมาก ประกอบกับมีคณะทำงานบริหารกรรมการของหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง สามารถเป็นตัวอย่าง และต้นแบบในการเผยแพร่ให้คนทั้งในและนอกชุมชนได้ดำเนินตามได้
- P2 : Place การพัฒนาพื้นที่ ได้มีการยึดพื้นที่เป็นหลักในการทำให้ชุมชนน่าอยู่มีการจัดการชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยความร่วมมือของผู้นำทั้งสองศาสนา
- P3 : Product การกำหนดอัตลักษณ์ของชุมชน Positioning ร่วมกันวิเคราะห์ ในรูปของการจัดเวทีประชาคม เพื่อหาแนวทางหรือทิศทางที่เป็นจุดแข็ง หรือจุดเด่นของชุมชน ซึ่งบ้านหนองปลาไหล หมู่ที่ 1 ได้กำหนดอัตลักษณ์ เป็นศาสนาพุทธและอิสลาม มีการบูรณาการในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน และการรักษาประเพณีวัฒนธรรมของศาสนาทั้งสองอย่างดี
- P4 : Planning การพัฒนาแผนชุมชน ได้มีการจัดประชุมประจำเดือนทุกวันที่ 10 ของเดือน และมีการประชาคมทำแผนชุมชน มีครัวเรือนเข้าร่วมในการจัดทำแผน โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไม้แก่น สำนักงานพัฒนาชุมชนและหน่วยงานราชการต่าง ๆ เข้าร่วมตั้งแต่ต้น มีแผนชุมชนเป็นรูปเล่มในหมู่บ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น