สถานการณ์ที่ทำให้ต้องศึกษา... บ้านชวดชะโด เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นฐานทางด้านเกษตรกรรม เนื่องจากสภาพสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต
ซึ่งเมื่อก่อนนี้สภาพสังคมเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว
แต่ปัจจุบันการประกอบอาชีพทุกครัวเรือนประกอบอาชีพทำนา
แต่สมาชิกบางส่วนในครัวเรือนคือบุตรหลานไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ซึ่งข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้านจะไม่ครอบคลุม
และไม่ทั่วถึง ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนในหมู่บ้านเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่มีเวลาทำงานที่แน่นอนเนื่องจาการเข้ากะหรือเช้าไปเย็นกลับ
หยุดเฉพาะวันอาทิตย์ ร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้านน้อยลง
เหตุผลที่เลือกพื้นที่บ้าน “ชวดชะโด” เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน... บ้านชวดชะโดมีผู้นำชุมชนและแกนนำของหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง ชาวบ้านในหมู่บ้านให้ความร่วมมือการทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่อย่างดี มีข้อตกลงร่วมกันในการทำงาน มีการประชุมร่วมกันทุกเดือนและตรงต่อเวลา ซึ่งบ้านชวดชะโดจะมีความแตกต่างในเรื่องเวลาของชาวบ้านแต่สามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ สร้างความร่วมมือ สร้างความสามัคคีกันในชุมชน ประกอบกับพื้นที่ของหมู่บ้านได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ก็ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การทำงานเช่นกัน โดยใช้หลักการประโยชน์ร่วมกันในชุมชน
บริบทของบ้านชวดชะโด... บ้านชวดชะโด หมู่ที่ 5 ตำบลก้อนแก้ว อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา มี ประชากรอยู่จริง 509 คน จำนวนครัวเรือน 127 ครัวเรือน อาชีพของชาวบ้าน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา อาชีพเสริมคือปลูกข่า และมีส่วนหนึ่งรับจ้างทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สภาพการปลูกบ้านของครัวเรือนในหมู่บ้านในลักษณะรวมกลุ่ม ญาติพี่น้องจะปลูกบ้านอยู่ใกล้เคียงกัน
ความสำเร็จในการทำงานพัฒนาชุมชน... บ้านชวดชะโดประสบความสำเร็จในด้านการบริหารจัดการกองทุนต่างๆ ของหมู่บ้านเป็นอย่างดี การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านมีสมาชิกบางรายที่ส่งคืนเงินกู้ไม่ตรงตามกำหนด แต่กรรมการสามารถดำเนินการบริหารจัดการอย่างราบรื่นไม่มีปัญหาหนี้สินค้างชำระ ซึ่งการบริหารจัดการของแต่ละกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี มีประสิทธิภาพ มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ของชุมชน กิจกรรมเกษตรแบบพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาสู่เยาวชนรุ่นหลัง
เหตุผลที่เลือกพื้นที่บ้าน “ชวดชะโด” เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน... บ้านชวดชะโดมีผู้นำชุมชนและแกนนำของหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง ชาวบ้านในหมู่บ้านให้ความร่วมมือการทำงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่อย่างดี มีข้อตกลงร่วมกันในการทำงาน มีการประชุมร่วมกันทุกเดือนและตรงต่อเวลา ซึ่งบ้านชวดชะโดจะมีความแตกต่างในเรื่องเวลาของชาวบ้านแต่สามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ สร้างความร่วมมือ สร้างความสามัคคีกันในชุมชน ประกอบกับพื้นที่ของหมู่บ้านได้มีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ก็ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การทำงานเช่นกัน โดยใช้หลักการประโยชน์ร่วมกันในชุมชน
บริบทของบ้านชวดชะโด... บ้านชวดชะโด หมู่ที่ 5 ตำบลก้อนแก้ว อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา มี ประชากรอยู่จริง 509 คน จำนวนครัวเรือน 127 ครัวเรือน อาชีพของชาวบ้าน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา อาชีพเสริมคือปลูกข่า และมีส่วนหนึ่งรับจ้างทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สภาพการปลูกบ้านของครัวเรือนในหมู่บ้านในลักษณะรวมกลุ่ม ญาติพี่น้องจะปลูกบ้านอยู่ใกล้เคียงกัน
ความสำเร็จในการทำงานพัฒนาชุมชน... บ้านชวดชะโดประสบความสำเร็จในด้านการบริหารจัดการกองทุนต่างๆ ของหมู่บ้านเป็นอย่างดี การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านมีสมาชิกบางรายที่ส่งคืนเงินกู้ไม่ตรงตามกำหนด แต่กรรมการสามารถดำเนินการบริหารจัดการอย่างราบรื่นไม่มีปัญหาหนี้สินค้างชำระ ซึ่งการบริหารจัดการของแต่ละกองทุนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี มีประสิทธิภาพ มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ของชุมชน กิจกรรมเกษตรแบบพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาสู่เยาวชนรุ่นหลัง
วิธีการทำงานพัฒนาชุมชนบ้านชวดชะโดของผู้นำชุมชน... มีที่สำคัญ 5 ข้อ ดังนี้
1. ด้านการสื่อสารและการประสานงาน
ในการแจ้งข้อมูลข่าวสารที่ทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำกัน ได้แบ่งหน้าที่การทำงานตามผู้นำชุมชนตามโซน เพื่อให้การประสานทั่วถึง แบ่งความรับผิดชอบในการแจ้งข้อมูลข่าวสาร โดยมีหลักการการประสานคือ การใช้โทรศัพท์ หากกิจกรรมนั้นไม่สำคัญหรือเร่งด่วน หากเป็นกิจกรรมที่สำคัญจะมีการออกหนังสือเชิญประชุม ต้องมีการแจ้งกันล่วงหน้า และการประชุมประจำเดือนจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนที่ทำงานในโรงงาน ต้องมีการแจ้งล่วงหน้าเพื่อจะได้ลางานหรือจะจัดกิจกรรมในวันหยุด (วันอาทิตย์) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรม สร้างความสามัคคีในชุมชน
2. ด้านการมีส่วนร่วม
ชาวบ้านชวดชะโด
ได้มีการร่วมกันคิดและหาทางออกในการทำงานร่วมกัน เช่น การบริหารงานกองทุนหมู่บ้าน
การประชุมประจำเดือน การจัดทำแผนชุมชน การจัดกิจกรรมวันสำคัญ การแข่งกีฬาชุมชน โดยเน้นการประชุมต้องมีตัวแทนครัวเรือนทุกครัวเรือนเข้าร่วมประชุม
และจะเน้นการจัดกิจกรรมในวันหยุด
หากมีการจัดกิจกรรมในวันธรรมจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้า1. ด้านการสื่อสารและการประสานงาน
ในการแจ้งข้อมูลข่าวสารที่ทั่วถึง และลดความเหลื่อมล้ำกัน ได้แบ่งหน้าที่การทำงานตามผู้นำชุมชนตามโซน เพื่อให้การประสานทั่วถึง แบ่งความรับผิดชอบในการแจ้งข้อมูลข่าวสาร โดยมีหลักการการประสานคือ การใช้โทรศัพท์ หากกิจกรรมนั้นไม่สำคัญหรือเร่งด่วน หากเป็นกิจกรรมที่สำคัญจะมีการออกหนังสือเชิญประชุม ต้องมีการแจ้งกันล่วงหน้า และการประชุมประจำเดือนจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนที่ทำงานในโรงงาน ต้องมีการแจ้งล่วงหน้าเพื่อจะได้ลางานหรือจะจัดกิจกรรมในวันหยุด (วันอาทิตย์) เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมกิจกรรม สร้างความสามัคคีในชุมชน
2. ด้านการมีส่วนร่วม
3. กิจกรรมการพัฒนาชุมชนบ้านชวดชะโด
บ้านชวดชะโด มีกิจกรรมของหมู่บ้านเพื่อเป็นการสร้างความสามัคคี และพัฒนาหมู่บ้าน มีการจัดกิจกรรม ดังนี้ การจัดกิจกรรมวันสำคัญ เช่น 12 สิงหาคม และวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี กิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมวันผู้สูงอายุ การฝึกอาชีพ การทำบุญขวัญข้าว การทำบุญสวนตะปุโต (ขอฝน) และการร่วมกันกำจัดวัชพืชในคูคลองต่าง ๆ
4. การจัดการปัญหาในหมู่บ้าน… บ้านชวดชะโด เป็นพื้นที่เกษตรกรรม อยู่กันแบบรวมกลุ่ม แต่ก็มีข้อขัดแย้งในหมู่บ้าน จากการถอดบทเรียน มีแนวทางการจัดการปัญหา ดังนี้
ปัญหายาเสพติด จะมีการแบ่งครัวเรือนที่รับผิดชอบดูแล สอดส่อง เพื่อให้ครอบคลุมและทั่วถึง ไม่ปิดบังข้อมูลกัน ใช้หลักการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งนี้หมู่บ้านได้หารายได้จากการทอดผ้าป่าสมทบกองทุน เพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาอื่น ๆ ปัญหาที่เป็นของหมู่บ้านจะใช้เวทีประชาคมในการแก้ไขปัญหา ตัดสินปัญหา โดยใช้มติเสียงส่วนใหญ่ ปัญหาในครัวเรือนใช้คนที่เป็นที่เคารพตักเตือนกันเอง ทั้งนี้หากเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้นมา จะใช้หลักการไกล่เกลี่ย โดยผู้นำชุมชน/คณะกรรมการหมู่บ้าน ที่ใกล้ชิดกับคู่กรณี ไกล่เกลี่ย ซึ่งที่ผ่านมาจะจบลงด้วยดี
เจ้าหน้าที่มีวิธีการทำงานอย่างไรบ้าง... เพื่อให้การบริหารงาน บริหารเวลาเป็นไปตามสถานการณ์ และมีประสิทธิภาพ พัฒนากรมีแนวทางการทำงาน ดังนี้
1. การเข้าพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าการทำงานพัฒนาชุมชนในปัจจุบันจะเน้นเอกสาร การรายงาน ต้องมีเวลาในการเข้าพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จะใช้วันที่มีการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อจะได้พบปะผู้นำชุมชน และเข้าร่วมทุกครั้ง ทุกเดือน
2. การบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภาคี ต้องมีการประสานกับหน่วยงานอื่น ร่วมมือกันทำงาน และบูรณาการกิจกรรมในพื้นที่
3. ใช้โทรศัพท์ในการประสานงานเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ถึงแม้จะเป็นข้อเสียแต่ก็จำเป็น แต่อย่างไรก็ตามก็มีการใช้โทรศัพท์บ้าง ประสานเองบ้างตามความเหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น