สถานการณ์ที่ทำให้เราต้องไปศึกษา... บ้านทุ่งส่าย หมู่ที่ 12 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ
จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่หมู่บ้านที่มีการโยกย้ายถิ่นฐานจากที่อื่นมาอาศัยอยู่
โดยเฉพาะจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีความหลากหลายทางสังคม การดำเนินชีวิตของชาวบ้านทุ่งส่ายจึงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
คือ ทางด้านวัฒนธรรมประเพณี และภาษาพูด
เหตุผลที่เลือกพื้นที่ “ทุ่งส่าย” เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน... บ้านทุ่งส่ายเป็นหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2554 มีวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านการเกษตรอย่างเห็นได้ชัดเจน การดำเนินงานกองทุนต่างๆ และการพัฒนาหมู่บ้านด้านอื่น ๆ ก็เป็นไปด้วยความราบรื่น เรียบร้อย ชาวบ้านให้ความร่วมมือดีมาก ที่สำคัญคือที่นี่มีชาวบ้านบ้านทุ่งส่ายมีวัฒนธรรมที่หลากหลายและภาษาพูดที่แตกต่างกัน ได้แก่ ภาษาลาว(ภาคอีสาน) ร้อยละ 54 รองลงมาภาษาภูไท ร้อยละ 30 ภาษาไทย ร้อยละ 5 และภาษาเขมร ร้อยละ 1 แต่ชาวบ้านสามารถอยู่ด้วยกันอย่างรักใคร่ สามัคคี ร่วมมือ ร่วมใจกันพัฒนาหมู่บ้าน จึงต้องการศึกษาว่าทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้นำชุมชน เขามีเทคนิควิธีการทำงานอย่างไร เพื่อจะได้นำเอาวิธีการเหล่านี้ไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีสภาพของหมู่บ้านใกล้เคียงกันได้บ้าง
เหตุผลที่เลือกพื้นที่ “ทุ่งส่าย” เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน... บ้านทุ่งส่ายเป็นหมู่บ้านที่ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2554 มีวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านการเกษตรอย่างเห็นได้ชัดเจน การดำเนินงานกองทุนต่างๆ และการพัฒนาหมู่บ้านด้านอื่น ๆ ก็เป็นไปด้วยความราบรื่น เรียบร้อย ชาวบ้านให้ความร่วมมือดีมาก ที่สำคัญคือที่นี่มีชาวบ้านบ้านทุ่งส่ายมีวัฒนธรรมที่หลากหลายและภาษาพูดที่แตกต่างกัน ได้แก่ ภาษาลาว(ภาคอีสาน) ร้อยละ 54 รองลงมาภาษาภูไท ร้อยละ 30 ภาษาไทย ร้อยละ 5 และภาษาเขมร ร้อยละ 1 แต่ชาวบ้านสามารถอยู่ด้วยกันอย่างรักใคร่ สามัคคี ร่วมมือ ร่วมใจกันพัฒนาหมู่บ้าน จึงต้องการศึกษาว่าทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและผู้นำชุมชน เขามีเทคนิควิธีการทำงานอย่างไร เพื่อจะได้นำเอาวิธีการเหล่านี้ไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ที่มีสภาพของหมู่บ้านใกล้เคียงกันได้บ้าง
วิธีการทำงานพัฒนาชุมชนของผู้นำชุมชน... มีที่สำคัญ 5 ข้อ ดังนี้
1. ด้านการประสานงาน/การสื่อสาร
การประสานงานของหมู่บ้านที่มีความห่างไกล ในการเข้าร่วมประชุม แจ้งข้อมูลข่าวสารของทางราชการ เพื่อให้ทราบได้อย่างทั่วถึง โดยใช้เทคนิคในการประสานงาน คือ แจ้งสิทธิที่จะได้รับ และประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อให้รู้และเข้าใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน
การสื่อสารของหมู่บ้านทุ่งส่าย เนื่องจากชาวบ้านมีภาษาพูดที่แตกต่างกัน ซึ่งมีอยู่ 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาลาวอีสาน ภูไท ส่วย เขมร และภาษาไทย การสื่อสารจึงต้องใช้ภาษากลางคือ ภาษาไทยในการสื่อสารภาพรวมของหมู่บ้าน
ทั้งนี้การติดต่อสื่อสารเพื่อการประสานงาน ได้มีการใช้โทรศัพท์ การบอกต่อ ประชาสัมพันธ์ตามเสียงตามสายของหมู่บ้าน และเพื่อความคล่องตัวและทั่วถึงของชาวบ้าน ได้มีการแบ่งหน้าที่การประสานงานเป็นคุ้ม โดยแต่ละคุ้มมีหัวหน้าคุ้มเป็นผู้ประสานงาน
1. ด้านการประสานงาน/การสื่อสาร
การประสานงานของหมู่บ้านที่มีความห่างไกล ในการเข้าร่วมประชุม แจ้งข้อมูลข่าวสารของทางราชการ เพื่อให้ทราบได้อย่างทั่วถึง โดยใช้เทคนิคในการประสานงาน คือ แจ้งสิทธิที่จะได้รับ และประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อให้รู้และเข้าใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน
การสื่อสารของหมู่บ้านทุ่งส่าย เนื่องจากชาวบ้านมีภาษาพูดที่แตกต่างกัน ซึ่งมีอยู่ 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาลาวอีสาน ภูไท ส่วย เขมร และภาษาไทย การสื่อสารจึงต้องใช้ภาษากลางคือ ภาษาไทยในการสื่อสารภาพรวมของหมู่บ้าน
ทั้งนี้การติดต่อสื่อสารเพื่อการประสานงาน ได้มีการใช้โทรศัพท์ การบอกต่อ ประชาสัมพันธ์ตามเสียงตามสายของหมู่บ้าน และเพื่อความคล่องตัวและทั่วถึงของชาวบ้าน ได้มีการแบ่งหน้าที่การประสานงานเป็นคุ้ม โดยแต่ละคุ้มมีหัวหน้าคุ้มเป็นผู้ประสานงาน
2.
กิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน
บ้านทุ่งส่ายได้มีกิจกรรมเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน สร้างการมีส่วนร่วม ความร่วมมือร่วมใจกัน สร้างความสามัคคีกันในหมู่บ้าน โดยมีกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. กิจกรรมวันสำคัญ ได้แก่ วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ เป็นต้น และกิจกรรมสำคัญทางศาสนา เช่น แห่เทียนเข้าพรรษา วันพระ
2. กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการปลูกหญ้าแฝก ปลูกต้นไม้ในที่สาธารณประโยชน์ และแจกชาวบ้านเพื่อนำไปปลูกในพื้นที่บ้านเรือนของตนเอง และทำความสะอาดหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน
3. กิจกรรมที่เป็นประเพณีวัฒนธรรมของหมู่บ้าน ได้แก่ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมทำบุญ และรับประทานอาหารร่วมกัน การทำบุญข้าวจี่ จะจัดทุกปีในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 และวัฒนธรรมที่โดดเด่น คือ การทำบุญบั้งไฟ โดยดำเนินการร่วมกับหมู่บ้านอื่น
4. กิจกรรมการสร้างอาชีพเสริม โดยการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพเสริม ทางด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมในครัวเรือน
5. กิจกรรมโรงสีข้าวและโรงนวดข้าว เป็นกิจกรรมของหมู่บ้านดำเนินการโดยชุมชนเพื่อชุมชน ซึ่งโรงนวดข้าวผลตอบแทนจากการดำเนินการเป็นข้าวเปลือก และกิจกรรมโรงสีข้าวเพื่อให้ชาวบ้านนำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสาร ผลตอบแทนจากการดำเนินงานเป็นรำและข้าวสาร ซึ่งรำจำหน่ายให้แก่ครัวเรือนในหมู่บ้านเพื่อนำไปเลี้ยงหมู สำหรับข้าวสารจะนำมาจำหน่ายให้ชาวบ้านในหมู่บ้านในราคาถูก และส่วนหนึ่งนำไปใช้ในกิจกรรมส่วนรวมของหมู่บ้าน
บ้านทุ่งส่ายได้มีกิจกรรมเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน สร้างการมีส่วนร่วม ความร่วมมือร่วมใจกัน สร้างความสามัคคีกันในหมู่บ้าน โดยมีกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. กิจกรรมวันสำคัญ ได้แก่ วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ เป็นต้น และกิจกรรมสำคัญทางศาสนา เช่น แห่เทียนเข้าพรรษา วันพระ
2. กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการปลูกหญ้าแฝก ปลูกต้นไม้ในที่สาธารณประโยชน์ และแจกชาวบ้านเพื่อนำไปปลูกในพื้นที่บ้านเรือนของตนเอง และทำความสะอาดหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน
3. กิจกรรมที่เป็นประเพณีวัฒนธรรมของหมู่บ้าน ได้แก่ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมทำบุญ และรับประทานอาหารร่วมกัน การทำบุญข้าวจี่ จะจัดทุกปีในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 และวัฒนธรรมที่โดดเด่น คือ การทำบุญบั้งไฟ โดยดำเนินการร่วมกับหมู่บ้านอื่น
4. กิจกรรมการสร้างอาชีพเสริม โดยการรวมกลุ่มเพื่อสร้างอาชีพเสริม ทางด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมในครัวเรือน
5. กิจกรรมโรงสีข้าวและโรงนวดข้าว เป็นกิจกรรมของหมู่บ้านดำเนินการโดยชุมชนเพื่อชุมชน ซึ่งโรงนวดข้าวผลตอบแทนจากการดำเนินการเป็นข้าวเปลือก และกิจกรรมโรงสีข้าวเพื่อให้ชาวบ้านนำข้าวเปลือกมาสีเป็นข้าวสาร ผลตอบแทนจากการดำเนินงานเป็นรำและข้าวสาร ซึ่งรำจำหน่ายให้แก่ครัวเรือนในหมู่บ้านเพื่อนำไปเลี้ยงหมู สำหรับข้าวสารจะนำมาจำหน่ายให้ชาวบ้านในหมู่บ้านในราคาถูก และส่วนหนึ่งนำไปใช้ในกิจกรรมส่วนรวมของหมู่บ้าน
3.
ด้านการสร้างมีส่วนร่วม
ชาวบ้านทุ่งส่าย ได้มีการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน โดยการรวมกลุ่มเพื่อรวมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่ม ทั้งด้านกลุ่มอาชีพ/กลุ่มสังคม ได้แก่ กลุ่มเลี้ยงหมู กลุ่มเพาะเห็ดฟาง กลุ่มปลูกผัก กลุ่มขนมไทย กลุ่มทำนา โดยเน้นการทำเพื่อกิน กลุ่มผู้ใช้น้ำ โดยรวมกับหมู่บ้านอื่นเพื่อบริหารการจัดการน้ำในพื้นที่ และอื่น ๆ อีกมากมาย
การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมติดตาม ร่วมประเมินผลและร่วมแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน โดยใช้เวทีประชาคมหมู่บ้าน แผนพัฒนาหมู่บ้านจะใช้ประชาคมเป็นหลัก และการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน โดยจะมีการจัดประชุมเป็นประจำทุกเดือน โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในหมู่บ้าน
ชาวบ้านทุ่งส่าย ได้มีการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน โดยการรวมกลุ่มเพื่อรวมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่ม ทั้งด้านกลุ่มอาชีพ/กลุ่มสังคม ได้แก่ กลุ่มเลี้ยงหมู กลุ่มเพาะเห็ดฟาง กลุ่มปลูกผัก กลุ่มขนมไทย กลุ่มทำนา โดยเน้นการทำเพื่อกิน กลุ่มผู้ใช้น้ำ โดยรวมกับหมู่บ้านอื่นเพื่อบริหารการจัดการน้ำในพื้นที่ และอื่น ๆ อีกมากมาย
การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมติดตาม ร่วมประเมินผลและร่วมแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน โดยใช้เวทีประชาคมหมู่บ้าน แผนพัฒนาหมู่บ้านจะใช้ประชาคมเป็นหลัก และการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน โดยจะมีการจัดประชุมเป็นประจำทุกเดือน โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในหมู่บ้าน
4.
เครื่องมือการพัฒนาหมู่บ้าน
บ้านทุ่งส่าย ได้มีเครื่องมือการพัฒนาหมู่บ้าน ได้แก่ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท (จปฐ. / กชช.2ค) ข้อมูลหมู่บ้าน แผนชุมชนโดยจากชุมชนเพื่อชุมชน การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อรู้ตนเอง รู้รายจ่ายที่ไม่จำเป็น และมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเพื่อการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาแก่ชนรุ่นหลัง
5.การจัดการปัญหาในหมู่บ้าน
ปัญหายาเสพติด มีแนวทางการดำเนินการ คือ ป้องกัน บำบัด และรักษา โดยแนวทางการป้องกัน โดยการช่วยกันสอดส่องดูแล เฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มเสี่ยง มีการสร้างความรู้ความเข้าใจโทษของยาเสพติด และกิจกรรมการต่อต้านยาเสพติดให้โทษ ส่งตัวผู้เสพยาเข้ารับการบำบัด และการรักษา จะดำเนินการโดย อสม. ในการควบคุมดูแลผู้ป่วย ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน
ปัญหาอื่น ๆ ปัญหาที่เป็นของหมู่บ้านจะใช้เวทีประชาคมในการแก้ไขปัญหา ตัดสินปัญหา โดยใช้มติเสียงส่วนใหญ่ ปัญหาการทะเลาวิวาท จะใช้หลักการไกล่เกลี่ย โดยผู้นำชุมชน/คณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งที่ผ่านมาจะจบลงด้วยดี
บ้านทุ่งส่าย ได้มีเครื่องมือการพัฒนาหมู่บ้าน ได้แก่ ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท (จปฐ. / กชช.2ค) ข้อมูลหมู่บ้าน แผนชุมชนโดยจากชุมชนเพื่อชุมชน การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อรู้ตนเอง รู้รายจ่ายที่ไม่จำเป็น และมีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ของชุมชนเพื่อการเรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาแก่ชนรุ่นหลัง
5.การจัดการปัญหาในหมู่บ้าน
ปัญหายาเสพติด มีแนวทางการดำเนินการ คือ ป้องกัน บำบัด และรักษา โดยแนวทางการป้องกัน โดยการช่วยกันสอดส่องดูแล เฝ้าระวัง ติดตามกลุ่มเสี่ยง มีการสร้างความรู้ความเข้าใจโทษของยาเสพติด และกิจกรรมการต่อต้านยาเสพติดให้โทษ ส่งตัวผู้เสพยาเข้ารับการบำบัด และการรักษา จะดำเนินการโดย อสม. ในการควบคุมดูแลผู้ป่วย ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน
ปัญหาอื่น ๆ ปัญหาที่เป็นของหมู่บ้านจะใช้เวทีประชาคมในการแก้ไขปัญหา ตัดสินปัญหา โดยใช้มติเสียงส่วนใหญ่ ปัญหาการทะเลาวิวาท จะใช้หลักการไกล่เกลี่ย โดยผู้นำชุมชน/คณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งที่ผ่านมาจะจบลงด้วยดี
บ้านทุ่งส่ายมีความสำเร็จโดยผู้นำชุมชนมีเทคนิคการดำเนินการ...
การดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันโดยไม่แบ่งแยก ทั้งนี้การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความร่วมมือร่วมใจกัน
ความไม่เห็นแก่ตัว ความไม่เป็นพรรคเป็นพวก สร้างความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง และการยึดหลักประชาธิปไตยในการดำเนินงาน โดยมีนำเทคนิคมาใช้ในการทำงานของหมู่บ้าน
ได้แก่ AAR
AIC ใช้หลักการประสานงาน หลักการมีส่วนร่วม และใช้ปฏิทินฤดูกาล
เพื่อรู้อดีต รู้ปัจจุบัน นำมาแก้ไขและพัฒนาหมู่บ้าน
เทคนิคการทำงานของพัฒนากรสู่ความสำเร็จของหมู่บ้าน...จากการถอดบทเรียนพบว่า สิ่งที่พัฒนากรต้องปฏิบัติคือการเข้าถึงชุมชน โดยเฉพาะการพบปะผู้นำชุมชน ซึ่งผู้นำชุมชนจะรู้ข้อมูลของหมู่บ้านและประชาชนในหมู่บ้านอย่างดี ต้องเป็นมิตรกับชาวบ้าน ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของชุมชนโดยเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าใจ เข้าถึง สู่การพัฒนาชุมชนที่เป็นไปตามความต้องการของชุมชนเพื่อชุมชน
เทคนิคการทำงานของพัฒนากรสู่ความสำเร็จของหมู่บ้าน...จากการถอดบทเรียนพบว่า สิ่งที่พัฒนากรต้องปฏิบัติคือการเข้าถึงชุมชน โดยเฉพาะการพบปะผู้นำชุมชน ซึ่งผู้นำชุมชนจะรู้ข้อมูลของหมู่บ้านและประชาชนในหมู่บ้านอย่างดี ต้องเป็นมิตรกับชาวบ้าน ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของชุมชนโดยเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าใจ เข้าถึง สู่การพัฒนาชุมชนที่เป็นไปตามความต้องการของชุมชนเพื่อชุมชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น