การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานในส่วนของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดในการขับเคลื่อนนโยบายตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนให้ประสบผลสำเร็จ จากผลกระทบในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณที่กรมฯ ได้รับการจัดสรรลดลงทุกปี จึงเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการดำเนินงานในระดับพื้นที่ในการขับเคลื่อนนโยบายกรมฯ นโยบายกระทรวงให้ประสบผลสำเร็จ การแสวงหาโอกาสการเข้าถึงแหล่งงบประมาณจึงเป็นเรื่องสำคัญ การสอดแทรกแผนงาน/โครงการเข้าไปบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด จึงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งดำเนินงาน เพราะนั่นหมายถึง การมีงบประมาณในการทำงาน การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล กระทรวง กรมฯ และจังหวัดในประสบผลสำเร็จ
การขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการที่สำคัญให้เข้าบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ไม่ได้หมายถึงการเขียนแผนงาน/โครงการส่งสำนักงานจังหวัดให้บรรจุเข้าไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดเท่านั้น แต่หมายถึงแผนงาน/โครงการที่ทำขึ้นนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์ถึงต้นทุนที่ลงไปกับผลที่จะได้รับว่าคุ้มทุนหรือไม่ นอกจากนั้น ยังต้องรู้และเข้าใจในวิสัยทัศน์จังหวัด เข้าใจในยุทธศาสตร์จังหวัดว่าต้องการอะไร วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์กรมฯ วิสัยทัศน์สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และยุทธศาสตร์สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สอดรับกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์หรือไม่ ดังนั้น การจะทำให้แผนงาน/โครงการที่เขียนได้รับการตอบสนอง กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนจังหวัดจึงต้องพยายามแสดงวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ทั้ง 3 ส่วน ให้มีความสอดรับและมีความเชื่อมโยงกันให้ได้ เพื่อสะดวกต่อการเขียนแผนงาน/โครงการ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในแต่ละปี
ดังนั้น นักวิชาการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนทุกคน ต้องมีพื้นฐานองค์ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ของจังหวัด/กรมฯ/และสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอย่างละเอียดลึกซึ้ง เพื่อนำองค์ความรู้มาใช้ในการจัดทำแผนงาน/โครงการ เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดได้ ประการสำคัญต้องตอบให้ได้ว่าแผนงาน/โครงการที่ทำนั้นตอบสนองยุทธศาสตร์/ตัวชี้วัดอะไร และจะส่งผลต่อความสำเร็จของวิสัยทัศน์ได้อย่างไร
กลยุทธ์ในการจัดทำแผนงาน/โครงการ
1. ศึกษาการเขียนแผนงาน/โครงการ ที่มีประสิทธิภาพ
2. ศึกษาวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์
3. ศึกษากรอบระยะเวลาการจัดทำแผนงาน/โครงการ
แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551
2. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550
3. การติดตามผลและการประเมินผลด้วยเครื่องมือ PART
นายอรชุน ธิวรรณลักษณ์
หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน
รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดฉะเชิงเทรา
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น