การขาดทุนหมุนเวียนทำให้คนในชุมชน จำเป็นต้องหันหน้าเข้าหาแห่งเงินกู้นอกระบบ เกิดวัฏจักรของการกู้เงิน และการจ่ายดอกไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้เกิดปัญหาหนี้สิน และปัญหาความยากจนของประชาชน
จากนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนของภาครัฐ ทำให้เกิดกองทุนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแต่ละกองทุนมีความแตกต่างกันในเรื่อง การบริหารจัดการ ส่งผลให้ประชาชนมีภาระหนี้สิน ชุมชนไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ภาครัฐและองค์กรต่างๆให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้ร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการบริหารจัดการและพัฒนาทุนชุมชนให้มีประสิทธิภาพ
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำยุทธศาสตร์ เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารงาน โดยมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากกองทุน ของชุมชนที่มีอยู่หลากหลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง อย่างยั่งยืนโดยกำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับทุนชุมชน ซึ่งหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งสถาบันการจัดการทุนชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต เป็นแกนนำในการดำเนินงานบริหารจัดการทุนชุมชนทำให้การบริหารจัดการเงินทุนเกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชนและชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คือ
๑. เพื่อให้การจัดการเงินทุนชุมชนเป็นระบบ มีความเป็นเอกภาพ สามารถแก้ปัญหา พัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาสังคมให้กับชุมชน
๒. เพื่อเป็นแหล่งเงินออมของชุมชน
๓. เพื่อเป็นแหล่งทุน และสวัสดิการชุมชน
๔. เพื่อเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน
เพื่อให้ชุมชนมีองค์กรที่สามารถบริหารจัดการเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ๑ ครัวเรือน ๑ สัญญา การจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชนเป็นการบูรณาการกองทุนต่างๆเข้าด้วยกัน จึงมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริงของชุมชน ในภาวะปัจจุบันอย่างยิ่ง โดยมีขั้นตอนการพัฒนาทุนชุมชน เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ดังนี้
ขั้นตอนการพัฒนาทุนชุมชน
๑. การจัดเก็บข้อมูลทุนชุมชน
ชุมชนแต่ละแห่งจะมีทุนชุมชนแตกต่างกัน ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพอีกทั้งทุนชุมชน แต่ละด้านที่มีอยู่ในชุมชน ก็อาจมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องขององค์ความรู้ จะทำให้รู้ว่า จำทำอะไรก่อน – หลัง
๒. การวิเคราะห์ข้อมูลทุนชุมชน
๒.๑ ศึกษาทุนชุมชนที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ในแต่ละประเภทว่ามีขนาดหรือปริมาณเท่าไร
๒.๒ สามารถบ่งชี้สถานะของทุนชุมชนแต่ละประเภทที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ว่ามีสถานะเป็นอย่างไร อยู่ในสถานะที่ดี/พอใช้/ต้องปรับปรุง
๒.๓ ประเมินศักยภาพของทุนชุมชน ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน เพื่อเป็นปัจจัยการพัฒนาและบริหารจัดการทุนชุมชน
๒.๔ จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ปัญหาทุนชุมชน เพื่อให้ทราบว่าควรดำเนินการอะไร ก่อน - หลัง
วิธีการวิเคราะห์ชุมชนสามารถทำได้โดยการจัดเวทีประชาคม ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือ คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการกลุ่มองค์กร ผู้นำชุมชน และภาคีการพัฒนา
๓. การพัฒนาทุนชุมชน
เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ทุนชุมชน ไปขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า ของทุนชุมชน หรือแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน เช่น การจัดทำแผนของหมู่บ้าน โดยนำเอาผลจากการวิเคราะห์ทุนชุมชน มากำหนดกิจกรรมหรือโครงการ ในการพัฒนาทุนชุมชน
๔. การประเมินผลการพัฒนาทุนชุมชน
หลังจากได้มีการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทุนชุมชน ไปขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา จะต้องมีการประเมินผลการพัฒนาทุนชุมชนดังกล่าว ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย
๔.๑ แบบสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) เป็นข้อมูลรายครัวเรือน ดำเนินการจัดเก็บเป็นประจำทุกปี
๔.๒ แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.๒ค) เป็นข้อมูลรายหมู่บ้านดำเนินการจัดเก็บเป็นประจำทุก ๒ ปี
๔.๓ แบบจัดระดับหรือดัชนีชี้วัด การพัฒนาทุนชุมชน จะแสดงให้เห็นถึงทุนชุมชน แต่ละด้านมีค่าอยู่ในระดับใด
๔.๔ แบบมาตรฐานทุนชุมชน ใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดทุนชุมชน
๔.๕ แบบประเมินศักยภาพทุนชุมชน สามารถชี้ให้เห็นถึงขีดความสามารถในการพัฒนาทุนชุมชนแต่ละด้านว่าเป็นอย่างไร
การประเมินผลการพัฒนาทุนชุมชน จากเครื่องมือที่กล่าวมา สามารถชี้ให้เห็นได้ว่าแต่ละปี มีผลการพัฒนาเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่าน ซึ่งจะสามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาทุนชุมชน ได้อย่างถูกต้อง
ขุมความรู้
๑. การพัฒนาทุนชุมชน
๒. การบูรณาการทุนชุมชน
๓. ขั้นตอนการพัฒนาทุนชุมชน
แก่นความรู้
การใช้ทุนชุมชนแก้ปัญหาส่วนรวม ที่เป็นรากฐานการพัฒนารากฐานส่วนอื่นๆ และทุนชุมชนทำให้เกิดเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
กฎระเบียบ/แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
๑. ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ในช่วงพ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๔
๒. คู่มือการจัดตั้งสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
๓. เอกสารแนวทางการพัฒนาทุนชุมชน
นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแปลงยาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น