ชื่อ
– นามสกุล นายเกียรติศักดิ์
อรัณยะกานนท์
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโพธิ
เบอร์โทรศัพท์ 08 7030
6080
เรื่อง องค์ความรู้การส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชนด้านแก้ไขปัญหาความยากจน
เป็นการจัดทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหมู่บ้านที่ได้รับมอบหมาย
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ ปี
พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน
สถานที่ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
เนื้อเรื่อง
แดนแห่งคูคลอง
สองฝั่งบางปะกง ดงกุ้งปลาไก่ ไข่ ขนมไทยเผยแพร่ แห่งหลวงพ่อโสธรทางน้ำ
การตั้งชุมชนของคนในสมัยโบราณมักเลือกทำเลอยู่ใกล้แหล่งน้ำ
เมื่ออพยพมาตั้งบ้านเรือนหลายครัวเรือนมากขึ้น
ก็เกิดเป็นหมู่บ้าน แล้วจึงสร้างวัด หรือ
ศาสนสถานเอาไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ถ้าหากจะคะเนว่าชุมชนใดมีอายุเท่าใด
หลักฐานที่พอจะเป็นที่เชื่อถือได้ก็คือ วัด หมู่บ้านสนามจันทร์เกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานบ่งบอกได้เลย
แต่ถ้าดูจากการสร้างวัดสนามจันทร์ซึ่งตั้งเมื่อ พ.ศ.
2400
บ้านสนามจันทร์มีอายุถึง 150 ปี ในปี พ.ศ.
2446
ตำบลบ้านโพธิ์ในปัจจุบันมีชื่อว่า ตำบลสนามจันทร์
ดังรายงานการตรวจราชการมณฑลปราจีนของพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ กราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
5 เรื่องการยุบอำเภอหัวไทรไปรวมกับอำเภอบางคล้า
และจัดตั้งอำเภอ บ้านโพธิ์ ความว่า
"ถ้าดูตามลำน้ำที่ว่าการอำเภอหัวไทรกับอำเภอบางคล้าห่างกันทางราว
1 ชั่วโมง เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรจะยกเลิกอำเภอ หัวไทร เสีย
คงย้ายไปตั้งตำบลสนามจันทร์ ที่จะเรียกนามอำเภอสนามจันทร์
ใต้เมืองฉะเชิงเทรา"
และอีกข้อความหนึ่ง ในความว่า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรามีหมู่บ้านมาก
ควรแบ่งท้องที่ตั้งเป็นอำเภอขึ้นอีกหนึ่งอำเภอ
ที่ว่าการอำเภอถ้าไปตั้งในคลองประเวศบุรีรมย์ก็ไม่อยู่กึ่งกลางท้องที่
จึงเลือกที่ใต้วัดสนามจันทร์เป็นที่ตั้งอำเภอ ความกราบบังคมทูลดังนี้
"ราษฎรที่อยู่ทางลำน้ำไปมาลำบากเห็นด้วยเกล้าฯ
ว่าควรตั้งที่ลำน้ำเมืองฉะเชิงเทรา เหนือปากคลองสนามจันทร์
เพราะเป็นท้องที่มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่โดยรอบ
แลเป็นทำเลโจรผู้ร้ายปล้นสะดมชุกชุม ส่วนนามอำเภอเรียกว่าอำเภอสนามจันทร์ เกล้าฯ
ได้เลือกที่ใต้วัดสนามจันทร์ เป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ
แลจะยกโรงตำรวจภูธรที่อำเภอหัวไทรมาตั้งอยู่ที่อำเภอสนามจันทร์ด้วย" สรุปได้ว่าพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาล มณฑลปราจีน เป็นผู้จัดตั้งอำเภอบ้านโพธิ์
โดยแยกออกมาจากอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 1
เมษายน
พ.ศ.
2447
ใช้ชื่อว่า อำเภอสนามจันทร์ ตามชื่อหมู่บ้านและตำบลที่ตั้งอำเภอ
ที่ว่าการอำเภอสนามจันทร์หลังแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคามุงด้วยจาก นายอำเภอคนแรกคือขุนประจำจันทเขตต์
เหตุที่ชื่อบ้านสนามจันทร์ มีประวัติเล่ากันว่า สมัยที่ท้องที่ยังเป็นป่าอยู่
มีเสือชุกชุม มีพระยา 3 ท่าน ออกมาตั้งจั่นดักเสือที่หนองน้ำ ราษฎรเรียกว่า
"หนองสามพระยา" และเรียกหมู่บ้านว่า "สนามจั่น" เรียกขานกันนานเข้าจึงเพี้ยนเป็นบ้านสนามจันทร์
ส่วนหนองสามพระยาได้ตื้นเขินเป็นพื้นนา
ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ ระหว่าง พ.ศ.
2447–2449
มีการปรับแก้ไขเขตของหมู่บ้านและตำบลตามพระราชบัญญัติลักษณะการ ปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) มาตรา 22
มีแนวทางการกำหนดเขตตำบลดังนี้
"หลายหมู่บ้านรวมกันราว
10 หมู่บ้าน ให้จัดเป็นตำบล 1
ให้ผู้ว่าราชการเมืองปักหมายเขตตำบลนั้นให้ทราบได้โดยชัดเจนว่าเพียงใด
ถ้าที่หมายเขตไม่มีลำห้วย หนอง คลอง บึง บาง หรือ สิ่งใด เป็นสำคัญได้
ก็ให้ผู้ว่าราชการเมืองจัดให้มีหลักปักหมายเขตอันจะถาวรอยู่ไปได้ยืนนาน"
หมายความว่า
การกำหนดเขตตำบลให้ใช้ลำห้วย หนอง คลอง บึง บาง เป็นแนวเขต
ตำบลสนามจันทร์เมื่อก่อนนี้เข้าใจว่ามีพื้นที่อยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ
จึงถูกแบ่งเขตออกจากกัน โดยมีแม่น้ำบางปะกงเป็นเส้นแบ่งเขต
พื้นที่ทางฝั่งขวายังคงใช้ชื่อตำบลสนามจันทร์เหมือนเดิม
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีเนื้อที่มากกว่า ส่วนทางฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอตั้งชื่อใหม่ว่า
"ตำบลบ้านโพธิ์" มีหลักฐานคือโฉนดที่ดินที่ออกให้ราษฎรเมื่อ ร.ศ. 125 (พ.ศ.
2449)
เปลี่ยนชื่อเป็นตำบลบ้านโพธิ์แล้ว เหตุที่ตั้งชื่อว่าบ้านโพธิ์
เนื่องจากถิ่นนี้มีต้นโพธิ์ขึ้นอยู่ทั่วไป
เมื่อก่อนวัดสนามจันทร์ก็มีต้นโพธิ์ใหญ่หลายต้น
ชาวบ้านมีความเคารพเพราะเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
จึงเอาผ้าเหลืองห่มต้นโพธิ์ ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อ พ.ศ.
2454
และทรงสถาปนาพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
เป็นค่ายหลวงสำหรับประชุมและซ้อมรบแบบเสือป่าเพื่อเป็นกำลังร่วมป้องกันประเทศ
และเสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรมอยู่เนือง ๆ
ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าชื่ออำเภอไปพ้องกับชื่อพระราชวังสนามจันทร์
จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอเขาดิน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่องเปลี่ยนชื่ออำเภอ ลงวันที่ 20
กรกฎาคม
พ.ศ.
2457
สมัยขุนเหี้ยมใจหาญ (พงษ์ บุรุษชาติ) เป็นนายอำเภอเขาดิน
เขาดินอยู่ต่อแดนกับอำเภอบางปะกง
เป็นเขาเนินหินแกรนิต สูงประมาณ 15 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดเขาดิน
ภายในวัดมีมณฑปร้างเก่าแก่มาก เข้าใจว่าเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
เหตุที่เอาเขาดินมาตั้งเป็นชื่ออำเภอแทนสนามจันทร์ คงเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จประพาสวัดเขาดิน
เมื่อปี พ.ศ.
2402
ซึ่งถือเป็นความปีติและเป็นสิริมงคล จึงเอาชื่อเขาดินมาเป็นชื่ออำเภอ
ต่อมาปรากฏว่าเขาดินไปอยู่ในเขตอำเภอบางปะกง
จึงเปลี่ยนชื่ออำเภออีกครั้งหนึ่งจากเขาดินมาเป็น อำเภอบ้านโพธิ์
ตามชื่อของตำบลที่ตั้งอำเภอเมื่อปี พ.ศ.
2460
(ตามรายงานกิจการจังหวัดประจำปี 2401-2502) สมัยขุนเจนประจำกิจ (ชื้น)
เป็นนายอำเภอ
อาคารที่ว่าการอำเภอหลังแรกหลังคามุงจาก หลังต่อมาปลูกสร้างเป็นอาคารไม้ 2
ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง หันหน้าสู่แม่น้ำบางปะกง
ปัจจุบันใช้เป็นสำนักงานเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ หลังที่ 3 ขยับเข้ามาสร้างริมถนนเป็นอาคารไม้
2 ชั้น แบบสมัยใหม่ ปัจจุบันได้รื้อหลังเก่า และก่อสร้างหลังใหม่ในที่เดิม ซึ่งได้เปิดทำการที่ว่าการหลังใหม่
ในวันที่ 15
มกราคม
พ.ศ.
2547
พร้อมทั้งเฉลิมฉลองในวาระที่อำเภอมีอายุครบ 100 ปีด้วย
ตั้งแต่ตั้งอำเภอมา
มีนายอำเภอปกครองรวม 45 คน โจรผู้ร้ายที่ว่าชุมชุมก็หมดไป
ชาวอำเภอบ้านโพธิ์มีความเป็นอยู่สงบสุข เรียบง่าย
แม้ในปัจจุบันการทำมาหากินเปลี่ยนไปจากเดิม สภาพสังคมเปลี่ยนไป
แต่มีสิ่งที่ไม่เปลี่ยน คือ ความสำนึกรักบ้านเกิดและความกตัญญูต่อแผ่นดิน
ซึ่งจะทำให้บ้านโพธิ์ มีความยั่งยืนตลอดไป
ขั้นตอนการทำงานการถอดบทเรียนครัวเรือนยากจน
1) กระบวนการแก้ไขปัญหาความยากจน ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนพื้นที่ มีบางส่วนเป็นคนนอกพื้นที่ๆ
เข้ามาทำงานในด้านการเลี้ยงกุ้ง อาชีพส่วนใหญ่
ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม เลี้ยงกุ้ง ปลา และรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม รับจ้างทั่วไป
มีการลดรายจ่ายในครัวเรือนที่ไม่จำเป็น มีระบบเฝ้าระวัง
ดูแลคนในชุมชนเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด
มีการรักษาความสะอาด และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ส่วนเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น คือ ระหว่างปี
2550 – ปัจจุบัน ที่ผ่านมา
วิถีชีวิตของชาวบ้านเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ปัญหาต่างๆ เริ่มเข้ามามีผลกระทบต่อคนในหมู่บ้านมากขึ้น การประกอบอาชีพทางด้านการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา
ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากภาวะทางธรรมชาติเกิดโรคกุ้งระบาด
ทำให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปัญหาความยากจน
เริ่มมีหนี้สินจากภาวะเศรษฐกิจ หรือ ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้นำชาวบ้านเริ่มมองเห็นปัญหาของหมู่บ้าน
และคิดหาหนทางแก้ไขปัญหาความยากจน จึงเริ่มประชาสัมพันธ์ ส่งเสริม
ให้ชาวบ้านนำแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจน
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ด้านดี
ได้แก่ ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้นทั้งด้านฐานะพร้อมอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ
มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม พื้นที่บริเวณบ้านมีการปลูกผักสวนครัว
มีเงินกองทุนหมู่บ้านและกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ และมีระเบียบของหมู่บ้านที่ใช้ปฏิบัติร่วมกัน
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ด้านลบ ได้แก่ การครองชีพของชาวบ้านมีความแตกต่างกัน ตามสภาพเศรษฐกิจ
และการประกอบอาชีพ การประชุมกลุ่ม
หรือเวทีประชาคมหมู่บ้าน ต้องใช้เวลาช่วงวันหยุด
หรือช่วงเย็นที่ชาวบ้านว่างจากการทำงาน
ชาวบ้านมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมาจากการสร้างฐานะและการประกอบอาชีพและสภาพเศรษฐกิจ
ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
2) การดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดเพื่อพึ่งพาตนเองนั้น
เริ่มมาจากการลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยการออมเงิน
สร้างภูมิคุ้มกันให้กับครอบครับเป้าหมาย ปัจจุบันครัวเรือนเป้าหมาย มีกิจกรรม ให้ครัวเรือนและสมาชิกในครัวเรือนไปประกอบอาชีพ
ส่งเสริมให้ชาวบ้านทำบัญชีครัวเรือน ทำของใช้ในครัวเรือน
มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปลูกผักสวนครัวริมรั้วและพื้นที่บริเวณรอบๆ
บ้าน เป็นครอบครัวที่ปลอดยาเสพติด และมีระเบียบกฎเกณฑ์ของครอบครัว มีกิจกรรมและการฝึกอบรมอาชีพที่สอดแทรกความพอเพียงมาโดยตลอด
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจน ที่เกิดขึ้นได้
เพราะ
1)
ความร่วมมือของครัวเรือนยากจนและสมาชิกในครัวเรือน
2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
การลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน 3) การมีแผนการใช้จ่ายในครัวเรือน 4) การพัฒนาอาชีพหลักและอาชีพเสริม
5) ต้องหาจุดที่
“พอเพียง” ของครัวเรือนยากจน ให้เจอ จึงสรุปเป็นการแก้ปัญหาครัวเรือนยากจน
ดังนี้
(1) การลดรายจ่าย
1.1 ครัวเรือนทำสวนครัว ได้แก่ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่และ
ไม่ฟุ่มเฟือย มีการลดรายจ่ายในครัวเรือน (ทำนาข้าวแผนใหม่ / ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ / ปลูกผัก
/ เลี้ยงปลา / เลี้ยงเป็ดไข่ / เลี้ยงกบในกระชัง / ทำน้ำยาล้างจาน /ทำน้ำยาปรับผ้านุ่ม / อื่น ๆ) ลดรายจ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็น
1.2
ครัวเรือนปลอดอบายมุข ได้แก่ เป็นครัวเรือนที่ปลอดยาเสพติด ไม่ดื่มสุรา
มาสูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน
(2) ด้านการเพิ่มรายได้
2.1
ได้แก่ มีการวางแผนชีวิต แผนการผลิต (ทำนาข้าวแผนใหม่ /
ขายของ / เลี้ยงเป็ดพันธ์ไข่ / เย็บจาก
มุงหลังคา/รับจ้างตัดหญ้า /
ปลูกผักสวนครัว / อื่นๆ) ทำแบบพอประมาณ รอบคอบ คิดอย่างมีเหตุมีผล
2.2
มีการเข้าร่วมกับกลุ่มอาชีพ เช่น(ทำดอกไม้จันทน์ / พวงหรีด และกิจกรรม อื่นๆ )
ที่เกิดจากการ
รวมตัวของกลุ่ม
ทำจำหน่ายในหมู่บ้าน และบริเวณใกล้เคียง
(3) ด้านการประหยัด
3.1 ครัวเรือนมีการออมทรัพย์ ได้แก่ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตของ
หมู่บ้าน สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน
เพื่อรับฝากเงินสัจจะของสมาชิก สร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง และครอบครัว (4) ด้านการเรียนรู้
4.1 ครัวเรือน มีการสืบทอด
และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แก่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
การปลูกพืชผักสวนครัว รั้วกินได้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่สืบทอดจากคนรุ่นก่อนมีการทำประชาคมหมู่บ้านสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่บ้าน
4.2
สมาชิกในครัวเรือนยากจน มีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน
ได้แก่ การศึกษาหาความรู้จากการเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา จากสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ
โทรทัศน์ ที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ทำให้คนในหมู่บ้านได้รับทราบแนวทางการดำเนินชีวิตที่มุ่งเน้นให้คนมีชีวิตที่เรียบง่าย
ไม่ฟุ่มเฟือย ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุผล
(5) ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์ ดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ที่ประชาชน
และหน่วยงานราชการต่างๆ ร่วมกันดำเนินงานในเทศกาล หรือวันหยุดทางราชการ เช่น
วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม หรือวันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม
มีการร่วมกันทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อดูแล รักษา สิ่งแวดล้อมของหมู่บ้าน
กระบวนการถอดบทเรียน
โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ
ขั้นที่ 1 ชี้แจงและเล่าความเป็นมา
ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยวิธีการดำเนินกิจกรรมตามเกณฑ์
เพื่อการประเมินและจัดระดับของครัวเรือนยากจน โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อเป็นสิ่งนำทางไปสู่ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม
ที่ก้าวหน้าอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน บนพื้นฐานความพอเพียงเป็นกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของครัวเรือนเป้าหมาย คือความพอประมาณ ความมีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ความรู้ และคุณธรรม
ขั้นที่
2
แนะนำทีมปฏิบัติการตำบล ที่เข้าร่วมกันการถอดบทเรียน
ทีมปฏิบัติการตำบลที่เข้าร่วมเวทีประชาคมถอดบทเรียนครัวเรือนยากจนเป้าหมายเพื่อสร้างความรู้
ความเข้าใจ
ให้กับครัวเรือนเป้าหมาย
ได้แก่
1.
พัฒนากรประสานงานตำบล
2.
กำนัน , ผู้ใหญ่บ้าน
3.
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
4. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
5. ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
6.
ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบล
7. ปลัดอำเภอผู้ประสานงานตำบล
8. หน่วยงานราชการ อื่นๆ
หน่วยงานเหล่านี้ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
ในการดำเนินงานเพื่อที่จะได้รับทราบ รับรู้และสามารถปฏิบัติได้ ตามหน้าที่ ดังนี้
1.
สำรวจ และจัดทำข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมาย
2.
จัดทำสมุดบันทึกการแก้ไขปัญหาความยากจนรายครัวเรือน
(family
folder)
3.
สำรวจความต้องการอาชีพทางเลือกเพื่อ
ยกระดับรายได้
4.
ส่งเสริมอาชีพให้เป็นไปตามความต้องการและศักยภาพของครัวเรือนเป้าหมาย
5.
ติดตามดูแลความก้าวหน้าการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนยากจน
6.
อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
ขั้นที่ 3 ซักถามข้อมูลและชวนคุยชวนเล่า
สนทนาพูด
คุย สร้างความรู้
ความเข้าใจที่ถูกต้องและสอบถามการดำเนินกิจกรรมตามแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงของครัวเรือน
ได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง ทราบหรือไม่ว่าวิธีการดำเนินกิจกรรมตามโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
เพื่อการพิจารณาคัดเลือกครัวเรือนเป้าหมาย โดยยึดหลักทางสายกลาง เพื่อเป็นสิ่งนำทางไปสู่ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม
ที่ก้าวหน้าอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน บนพื้นฐานความพอเพียงเป็นกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนในการพัฒนาตนเองนั้น
มีเงื่อนไขคืออะไร
ตั้งคำถามให้ครัวเรือนเป้าหมายตอบเพื่อจะได้ทราบว่าครัวเรือนเป้าหมายเข้าใจ หรือ
มีความรู้ ที่ถูกต้องหรือไม่ ต้องส่งเสริม สร้างการเรียนรู้ด้านใดบ้าง
ขั้นที่ 4 จัดเก็บและบันทึกข้อมูลตามที่มีการสนทนาระหว่างผู้ร่วมเวทีถอดบทเรียน
กับทีมเจ้าหน้าที่
สร้างความเข้าใจแนวความคิด
โดยการจัดเวทีการเรียนรู้ โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนว
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
และโครงการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ ทุกปี ที่มีครัวเรือนเป้าหมาย
การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ให้ครัวเรือนเป้าหมาย ได้ แสดงความคิดเห็น
ตลอดจนความต้องการของชาวบ้านโดยการพูดในการนำเสนอ
พร้อมจดบันทึกแนวความคิดของชาวบ้านแต่ละคนที่เสนอแนวความคิด
ขั้นที่ 5 สะท้อนข้อมูลที่จัดเก็บสู่ครัวเรือนเป้าหมายและสมาชิกในครัวเรือน
(1) ความพอประมาณ
ได้แก่ พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่
ไม่ฟุ่มเฟือย มีการลดรายจ่ายในครัวเรือน
(ปลูกผัก / เลี้ยงปลา /เลี้ยงไก่ไข่ / เลี้ยงเป็ดไข่ / เลี้ยงกบ / อื่น ๆ)
และพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีในบ้านเป็นหลัก
(2)
ความมีเหตุมีผล ได้แก่ มีการวางแผนการผลิต (เลี้ยงปลา กุ้ง และอื่น ๆ)
ทำพอกินพอใช้ และคิดอย่างมีเหตุมีผล
มีการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
(3)
มีภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ดำเนินชีวิตตามฐานะ มีอาหารการกินทุกวัน
มีเงินทุนเก็บออมและหมุนเวียน ไม่เลือกหรือเกี่ยงงาน
ใช้วิชาการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับตนเองในการประกอบอาชีพ
และมีความใกล้ชิดกันในครอบครัวและชุมชน
(4)
มีความรู้ ได้แก่ พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เข้ารับการอบรม
สัมมนา ประชุมเวทีประชาคม เพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และ มีความสุขจากการทำงาน
(5)
มีคุณธรรม ได้แก่ มีความสุขจากงานที่ทำ ดำรงชีวิตตามฐานะ การเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน
ซื่อสัตย์
ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ที่หมู่บ้านกำหนดขึ้น และอยู่กันอย่างมีความสุข
(ช่วยเหลือกัน/มีเพื่อน/
มีกิจกรรมทำร่วมกัน/อื่น
ๆ)
ขั้นที่ 6 สรุปบทเรียน
สรุปบทเรียนจากการจัดเวทีถอดบทเรียนโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ
ทุกปี ที่มีครัวเรือนเป้าหมาย
เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายและสมาชิกในครัวเรือน
ได้ทราบ และทำความเข้าใจแนวความคิดอย่างง่ายๆ
1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวรั้วกินได้ปลูกไม้ผลไว้
พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือนเหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น
ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น รักษาสุขภาพ เมื่อสุขภาพดี (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่อยากได้
อยากมีเหมือนคนอื่น เพราะจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด
ขั้นที่ 7 งานที่จะดำเนินการต่อไป
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
เพื่อจัดทำเป็นเอกสาร เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การดำเนินกิจการ
ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชี้แจงให้ชาวบ้านได้ทราบกิจกรรมที่ได้ดำเนินการครั้งนี้ เป็นการถอดบทเรียน
การดำเนินกิจกรรมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและโครงการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ
ทุกปี ที่มีครัวเรือนเป้าหมาย จะได้ดำเนินการตรงเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร
การดำเนินการขั้นตอนต่อไปจะเป็นการจัดทำเอกสาร เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
ให้หมู่บ้านอื่นๆ ได้ศึกษา ทำความเข้าใจ เกิดการเรียนรู้ในการดำเนินกิจกรรม โดยผ่านเอกสารที่จะได้จัดทำต่อไป