ชื่อ-นามสกุล นายสุริยน โอมวัฒนา
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สพจ.จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 0894911627
ชื่อเรื่อง เทคนิคของพี่พัฒนากร “จัดเวทีหาความสุข ด้วยใยแมงมุม”
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2557
สถานที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้าพเจ้าปฏิบัติงานกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน... ได้ประมาณ 1 ปี 6 เดือน ได้เรียนรู้งานสิ่งใหม่เพิ่มเติม และได้ทำงานร่วมกับพี่สมเกียรติ “คนนี้แหละ” ที่ผมจะเล่าต่อไป ผมขึ้นมาเป็นนักวิชาการจังหวัดก่อน และพี่เกียรติ ขึ้นมาประมาณเดือนพฤศจิกายน 2556 ตอนที่พี่เกียรติขึ้นมาเป็นนักวิชาการจังหวัด สุขภาพไม่ดี เพราะกินเหล้า หัวหน้าแนะนำให้ไปรักษาตัว จึงไปหาหมอที่คลินิก รักษาได้สักพัก มีอาการสายตาช่วงล่างเกิดมองไม่เห็น แต่ตอนนี้รักษาแล้ว ดีขึ้นมาก พี่เกียรติมีความรู้ ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 20 ปี
เราทำงานร่วมกัน... ทำงานได้เข้าใจเป็นทีม คอยปรึกษาหารือในงานที่ได้รับผิดชอบ คือ งานของพี่ผมก็ช่วยทำ งานของผมพี่ก็ช่วยผมเหมือนกัน พี่เกียรติจะสอนชี้แนะข้อบกพร่องที่เราต้องปรับปรุง และเล่าเรื่องงานที่ทำมาเล่าแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งผมเล่าถึงอำเภอราชสาส์นทำอย่างไร พี่เกียรติเล่าว่าพี่ทำที่อำเภอบางปะกง ผมจึงขอนำมาเล่าประสบการณ์ทำงานการจัดเวทีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบหรือรักษาสภาพหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปีก่อนของพี่เกียรติ เป็นเทคนิคส่วนหนึ่งของการหาความสุขมวลรวม (GVH) ที่อยากเล่าต่อครับ
เริ่มจากการทำความเข้าใจ... ในการหาความสุขมวลรวมให้ผู้ครัวเรือนพัฒนาเข้าใจก่อน เทคนิคนี้ มีดังนี้
อธิบายข้อที่ 1 ให้ทราบความหมายก่อน จากนั้นให้ผู้ครัวเรือนพัฒนาทุกคนหลับตาทุกคน จนกว่าจะถามแล้วเสร็จ หากใครลืมตาแอบมองเพื่อนขอให้ตาไม่สมประกอบ และจะมีน้อง 2 ขวัญ ขวัญ 1 ช่วยพี่นับมือที่ยก ขวัญ 2 คอยจดบนใยแมงมุม
สั่งให้หลับตา...
เอ้า..ใครคิดข้อนี้ให้ 1 ยกมือครับ น้องขวัญดาวนับ เอามือลง
คนที่ยกแล้วห้ามลืมตา และห้ามยกอีก ยกได้ครั้งเดียว
เอ้า..ใครคิดข้อนี้ให้ 2 ยกมือครับ น้องขวัญดาวนับ อย่านับเสียงดัง เอามือลง
ทุกคนยังหลับตาอยู่ คนที่ยกแล้วห้ามลืมตา และห้ามยกอีก ยกได้ครั้งเดียว
เอ้า..ใครคิดข้อนี้ให้ 3 ยกมือครับ น้องขวัญดาวนับ เอามือลง
ทุกคนยังหลับตาอยู่ คนที่ยกแล้วห้ามลืมตา และห้ามยกอีก ยกได้ครั้งเดียวเท่านั้น
เอ้า..ใครคิดข้อนี้ให้ 4 ยกมือครับ น้องขวัญดาวนับ เอามือลง
ทุกคนยังหลับตาอยู่ คนที่ยกแล้วห้ามลืมตา และห้ามยกอีก ยกได้ครั้งเดียวเท่านั้น
เอ้า..ใครคิดข้อนี้ให้ 5 ยกมือครับ น้องขวัญดาวนับ เอามือลง ทุกคนลืมตาได้
มาดูคะแนนกัน... แต่อยากถามคนที่ให้ 5 ในข้อนี้ มีเหตุผลประกอบด้วย เพื่อให้ที่ประชุมได้ยืนยัน เช่น หมู่บ้านนี้ไม่มีอบายมุข ให้ 5 แต่คนที่ตอบบอกว่าบ้านผมไม่มีใครเล่นการพนัน ไม่รู้บ้านอื่น ซึ่งมีอีกคนตอบขึ้นมาว่ามีบ้านนี้เล่น นั่นก็เล่น แต่บ้านของลุงคนที่ตอบเค้าไม่ได้เล่น
ถ้าเช่นนั้นข้อนี้คะแนนน่าจะอยู่ที่เท่าไร... ถามที่ประชุมอีกครั้ง ให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน
ทุกคนเข้าใจวิธีการแล้ว จากนั้นไปทำข้อถัดไป…
การทำงานหากได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้... จะสามารถนำไปพัฒนาการทำงาน หรือทำงานได้รวดเร็วขึ้น เพราะทุกคนจะมีประสบการณ์ วิธีคิด ของในช่วงอายุงาน วัย ประสบการณ์ต่างกัน การเรียนรู้จากรุ่นพี่พัฒนากร เป็นวิธีการหนึ่ง ซึ่งเทคนิคที่ผมเขียนคงเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน และต้องขอบคุณพี่สมเกียรติ คำแพ่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เล่าให้ฟังด้วย
แก่นความรู้...
1. ทำงานเป็นทีม ต้องพูดคุยกันก่อนออกเวที มีการแบ่งงานกันทำ
2. การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ชมเชย ให้กำลังใจ ผู้เข้าเวที
3. การใช้น้ำเสียงหนักเบา ในการเน้นจุดประโยคสำคัญ ให้ความตื่นเต้น ตื่นตัว
ขุมความรู้...
1. แบบประเมินความสุขมวลรวม
2. ประสบการณ์จากรุ่นพี่พัฒนากร
3. การแลกเปลี่ยนความรู้กัน
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สพจ.จังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์ 0894911627
ชื่อเรื่อง เทคนิคของพี่พัฒนากร “จัดเวทีหาความสุข ด้วยใยแมงมุม”
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2557
สถานที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้าพเจ้าปฏิบัติงานกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน... ได้ประมาณ 1 ปี 6 เดือน ได้เรียนรู้งานสิ่งใหม่เพิ่มเติม และได้ทำงานร่วมกับพี่สมเกียรติ “คนนี้แหละ” ที่ผมจะเล่าต่อไป ผมขึ้นมาเป็นนักวิชาการจังหวัดก่อน และพี่เกียรติ ขึ้นมาประมาณเดือนพฤศจิกายน 2556 ตอนที่พี่เกียรติขึ้นมาเป็นนักวิชาการจังหวัด สุขภาพไม่ดี เพราะกินเหล้า หัวหน้าแนะนำให้ไปรักษาตัว จึงไปหาหมอที่คลินิก รักษาได้สักพัก มีอาการสายตาช่วงล่างเกิดมองไม่เห็น แต่ตอนนี้รักษาแล้ว ดีขึ้นมาก พี่เกียรติมีความรู้ ประสบการณ์ทำงานมากกว่า 20 ปี
เราทำงานร่วมกัน... ทำงานได้เข้าใจเป็นทีม คอยปรึกษาหารือในงานที่ได้รับผิดชอบ คือ งานของพี่ผมก็ช่วยทำ งานของผมพี่ก็ช่วยผมเหมือนกัน พี่เกียรติจะสอนชี้แนะข้อบกพร่องที่เราต้องปรับปรุง และเล่าเรื่องงานที่ทำมาเล่าแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งผมเล่าถึงอำเภอราชสาส์นทำอย่างไร พี่เกียรติเล่าว่าพี่ทำที่อำเภอบางปะกง ผมจึงขอนำมาเล่าประสบการณ์ทำงานการจัดเวทีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบหรือรักษาสภาพหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบปีก่อนของพี่เกียรติ เป็นเทคนิคส่วนหนึ่งของการหาความสุขมวลรวม (GVH) ที่อยากเล่าต่อครับ
เริ่มจากการทำความเข้าใจ... ในการหาความสุขมวลรวมให้ผู้ครัวเรือนพัฒนาเข้าใจก่อน เทคนิคนี้ มีดังนี้
อธิบายข้อที่ 1 ให้ทราบความหมายก่อน จากนั้นให้ผู้ครัวเรือนพัฒนาทุกคนหลับตาทุกคน จนกว่าจะถามแล้วเสร็จ หากใครลืมตาแอบมองเพื่อนขอให้ตาไม่สมประกอบ และจะมีน้อง 2 ขวัญ ขวัญ 1 ช่วยพี่นับมือที่ยก ขวัญ 2 คอยจดบนใยแมงมุม
สั่งให้หลับตา...
เอ้า..ใครคิดข้อนี้ให้ 1 ยกมือครับ น้องขวัญดาวนับ เอามือลง
คนที่ยกแล้วห้ามลืมตา และห้ามยกอีก ยกได้ครั้งเดียว
เอ้า..ใครคิดข้อนี้ให้ 2 ยกมือครับ น้องขวัญดาวนับ อย่านับเสียงดัง เอามือลง
ทุกคนยังหลับตาอยู่ คนที่ยกแล้วห้ามลืมตา และห้ามยกอีก ยกได้ครั้งเดียว
เอ้า..ใครคิดข้อนี้ให้ 3 ยกมือครับ น้องขวัญดาวนับ เอามือลง
ทุกคนยังหลับตาอยู่ คนที่ยกแล้วห้ามลืมตา และห้ามยกอีก ยกได้ครั้งเดียวเท่านั้น
เอ้า..ใครคิดข้อนี้ให้ 4 ยกมือครับ น้องขวัญดาวนับ เอามือลง
ทุกคนยังหลับตาอยู่ คนที่ยกแล้วห้ามลืมตา และห้ามยกอีก ยกได้ครั้งเดียวเท่านั้น
เอ้า..ใครคิดข้อนี้ให้ 5 ยกมือครับ น้องขวัญดาวนับ เอามือลง ทุกคนลืมตาได้
มาดูคะแนนกัน... แต่อยากถามคนที่ให้ 5 ในข้อนี้ มีเหตุผลประกอบด้วย เพื่อให้ที่ประชุมได้ยืนยัน เช่น หมู่บ้านนี้ไม่มีอบายมุข ให้ 5 แต่คนที่ตอบบอกว่าบ้านผมไม่มีใครเล่นการพนัน ไม่รู้บ้านอื่น ซึ่งมีอีกคนตอบขึ้นมาว่ามีบ้านนี้เล่น นั่นก็เล่น แต่บ้านของลุงคนที่ตอบเค้าไม่ได้เล่น
ถ้าเช่นนั้นข้อนี้คะแนนน่าจะอยู่ที่เท่าไร... ถามที่ประชุมอีกครั้ง ให้ได้ข้อสรุปร่วมกัน
ทุกคนเข้าใจวิธีการแล้ว จากนั้นไปทำข้อถัดไป…
การทำงานหากได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้... จะสามารถนำไปพัฒนาการทำงาน หรือทำงานได้รวดเร็วขึ้น เพราะทุกคนจะมีประสบการณ์ วิธีคิด ของในช่วงอายุงาน วัย ประสบการณ์ต่างกัน การเรียนรู้จากรุ่นพี่พัฒนากร เป็นวิธีการหนึ่ง ซึ่งเทคนิคที่ผมเขียนคงเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน และต้องขอบคุณพี่สมเกียรติ คำแพ่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เล่าให้ฟังด้วย
แก่นความรู้...
1. ทำงานเป็นทีม ต้องพูดคุยกันก่อนออกเวที มีการแบ่งงานกันทำ
2. การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ชมเชย ให้กำลังใจ ผู้เข้าเวที
3. การใช้น้ำเสียงหนักเบา ในการเน้นจุดประโยคสำคัญ ให้ความตื่นเต้น ตื่นตัว
ขุมความรู้...
1. แบบประเมินความสุขมวลรวม
2. ประสบการณ์จากรุ่นพี่พัฒนากร
3. การแลกเปลี่ยนความรู้กัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น