ผมได้มีโอกาสทำงานดูแลเรื่องการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ชุมชน มาตั้งแต่ปี 2552 ดังนั้น ในวันนี้จะขอถอดบทเรียนมาเล่าสู่กันฟัง หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษาในเรื่องนี้บ้างตามสมควรนะครับ...
ลักษณะความยากของงาน
ต้องชี้แจงให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนรู้และเข้าใจ...
ต้องชี้แจงให้ผู้นำชุมชนและประชาชนรู้และเข้าใจ...
ต้องทำให้ชาวบ้านตระหนักถึงผลดีและอยากทำ...
ต้องเฟ้นหาสถานที่และแหล่งเรียนรู้ที่ดี
น่าสนใจ...
ต้องกระตุ้นคณะกรรมการให้ขับเคลื่อนกิจกรรม...
ต้องแปลงความเป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม...
วิธีการแก้ไขปัญหาให้ประสบความสำเร็จ
ประชุมชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน...
ประชุมชี้แจงแก่ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ดำเนินการ...
แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฯ ที่ปรึกษา และทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่...
ร่างระเบียบข้อบังคับ...
กำหนดแผนปฏิบัติการ
ให้มีทั้งง่ายเพื่อเกิดกำลังใจและยากเพื่อความท้าทาย...
กำหนดสถานที่ ปรับปรุงการแสดงข้อมูล...
กำหนดแหล่งเรียนรู้ ครัวเรือนต้นแบบ
ให้มีหลายแห่งและหลากหลาย...
ถอดบทเรียนองค์ความรู้...
จัดทำสื่อเอกสาร วีดิทัศน์
ป้ายประชาสัมพันธ์...
จัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ...
จัดกิจกรรมเวทีประชาคม มีทั้งการประชุมและให้ความรู้ด้านต่างๆ...
หาจุดเด่นของศูนย์เป็นจุดขาย...
ทักษะและความรู้ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา
ทักษะการพูดคุยสื่อสาร โน้มน้าวใจ…
ทักษะการจัดแสดงข้อมูล...
ทักษะการจัดเวทีประชาคม...
ทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการ...
ทักษะการประชาสัมพันธ์...
สุรเดช วรรณศิริ
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
โทร.038-511239
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น