วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ชุมชน

ผมได้มีโอกาสทำงานดูแลเรื่องการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ชุมชน มาตั้งแต่ปี 2552 ดังนั้น ในวันนี้จะขอถอดบทเรียนมาเล่าสู่กันฟัง หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษาในเรื่องนี้บ้างตามสมควรนะครับ...
 ลักษณะความยากของงาน
          ต้องชี้แจงให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนรู้และเข้าใจ...
          ต้องชี้แจงให้ผู้นำชุมชนและประชาชนรู้และเข้าใจ...
          ต้องทำให้ชาวบ้านตระหนักถึงผลดีและอยากทำ...
          ต้องเฟ้นหาสถานที่และแหล่งเรียนรู้ที่ดี น่าสนใจ...
          ต้องกระตุ้นคณะกรรมการให้ขับเคลื่อนกิจกรรม...
          ต้องแปลงความเป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม...

วิธีการแก้ไขปัญหาให้ประสบความสำเร็จ
          ประชุมชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน...
          ประชุมชี้แจงแก่ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ดำเนินการ...
          แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฯ ที่ปรึกษา และทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่...
          ร่างระเบียบข้อบังคับ...
          กำหนดแผนปฏิบัติการ ให้มีทั้งง่ายเพื่อเกิดกำลังใจและยากเพื่อความท้าทาย...
          กำหนดสถานที่ ปรับปรุงการแสดงข้อมูล...
          กำหนดแหล่งเรียนรู้ ครัวเรือนต้นแบบ ให้มีหลายแห่งและหลากหลาย...
          ถอดบทเรียนองค์ความรู้...
          จัดทำสื่อเอกสาร วีดิทัศน์ ป้ายประชาสัมพันธ์...
          จัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ...
          จัดกิจกรรมเวทีประชาคม มีทั้งการประชุมและให้ความรู้ด้านต่างๆ...
          หาจุดเด่นของศูนย์เป็นจุดขาย...

ทักษะและความรู้ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา
          ทักษะการพูดคุยสื่อสาร โน้มน้าวใจ
          ทักษะการจัดแสดงข้อมูล...
          ทักษะการจัดเวทีประชาคม...
          ทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการ...
          ทักษะการประชาสัมพันธ์...

สุรเดช  วรรณศิริ
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
โทร.038-511239

เทคนิคการจัดรายการวิทยุ

ผมจัดรายการวิทยุมานานหลายปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2541 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้น วันนี้จะขอถอดเรียนเกี่ยวกับการจัดรายการวิทยุไว้ให้ท่านที่ต้องการศึกษาหาความรู้ในเรื่องนี้ ได้นำไปใช้ประโยชน์กันครับ...


ลักษณะความยากของงาน
          การจัดรายการวิทยุต้องมีความราบรื่น นุ่มนวล น่าฟัง
          ต้องสื่อสารกับผู้ฟังให้เกิดความรู้ความเข้าใจ
          ได้รับประโยชน์ทั้งสาระและความบันเทิง...
          ผู้จัดรายการต้องมีทักษะการพูดสื่อสารที่ดี...
          และสามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีในห้องส่งวิทยุได้...

วิธีการแก้ไขปัญหา
          ฟังรายการวิทยุที่ชอบหรือรายการยอดนิยม...
          ประยุกต์ใช้และดัดแปลง...
          ออกแบบรายการ กำหนดเป้าหมาย กลุ่มผู้ฟัง วิธีการ ช่วงเวลา...
          ขอเวลาจัดรายการจากสถานีวิทยุ เน้นที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย...
          เวลาจัด พูดให้ชัด ออกจากใจ จริงใจ เหมือนคุยกับเพื่อน...
          ใส่เอกลักษณ์เฉพาะตัวเข้าไป...
          เตรียมเรื่อง...เตรียมเพลง...
          ฝึกใช้เครื่องมือในห้องส่ง...
          เชื่อมั่นตนเอง...
          ออกเสียงตัว ร ล ตัวควบกล้ำให้ถูกต้อง...
          จัดรายการสด ดีกว่าใช้การบันทึกเสียง...
          ผ่านการอบรมผู้จัดรายการและสอบผู้ประกาศได้จะดีมาก...

ทักษะและความรู้ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา
          ทักษะการพูดคุยสื่อสาร
          ทักษะการใช้ไมค์และเครื่องมือเทคโนโลยีในห้องส่งวิทยุ...
          ทักษะการใช้โปรแกรมบันทึกเสียงและตัดต่อ...กรณีต้องบันทึกเสียง...
          ความรู้เกี่ยวกับงานพัฒนาชุมชน
          ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาผู้ฟัง อย่าพูดวกวน อย่าพูดชวนง่วงนอน...

สุรเดช  วรรณศิริ
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
โทร.038-511239

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้อคิดนักจัดการความรู้

1. ความรู้ไม่ใช่ทองคำ....เปรียบเหมือนนมมากกว่า
หมายความว่า ความรู้มีค่าเหมือนทองคำ แต่ถ้าอมพนำก็จะเน่าเสีย

2. คุณไม่สามารถเอาชนะได้ ถ้าคุณไม่รู้ว่ากฎเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
หมายความว่า อย่ายึดติดกับทัศนคติและพฤติกรรมเดิมๆ ที่เราได้เรียนรู้มา

3. ความรู้ไม่ใช่อำนาจ...การแบ่งปันความรู้ต่างหากคืออำนาจ
หมายความว่า การเก็บงำความรู้ไว้เพราะกลัวว่าตนจะเสียอำนาจ
จริงๆ แล้วยิ่งเก็บความรู้นั้นไว้ คุณยิ่งไม่มีค่าต่อองค์กรเลย
ถ้าคุณรู้ มีประสบการณ์มากก็ยิ่งต้องเป็นพี่เลี้ยงให้กับคนใหม่ๆ หรือคนรุ่นใหม่ให้ได้ศึกษา และเรียนรู้จากประสบการณ์ของคุณ

4. ไม่มีใครรู้ทุกอย่าง ดังนั้นจึงไม่มีใครสามารถเอาชนะได้ด้วยตัวคนเดียว
เพราะ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วมากจนไม่มีใครคนใดคนหนึ่งคำตอบคำถามได้ทุกเรื่อง

5. คำตอบที่ถูกต้องต่อความท้าทายทุกอย่าง มีมากกว่าหนึ่งคำตอบเสมอ
ความคิดที่หลากหลายมีความสำคัญ ยิ่งรวบรวมข้อมูลได้มาก โดยเฉพาะข้อมูลที่ขัดแย้งกัน
ยิ่งทำให้วิธีแก้ปัญหามีความสร้างสรรค์มากขึ้น

6. ถ้าคุณล้มเหลวและไม่เรียนรู้จากมัน ทุกคนจะยังคงพ่ายแพ้
จงกล้าพอที่จะบอกเพื่อนร่วมทีม จะทำให้ความผิดพลาดของคุณเป็นข้อมูลที่มีค่า
ที่จะนำมาใช้เพื่อความแข็งแกร่งขึ้น

 
7. ถ้าคุณชนะและไม่ยอมบอกผู้อื่นว่าคุณชนะได้อย่างไร ทุกคนก็จะยังพ่ายแพ้
การแบ่งปันความรู้ ทำให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ที่จะประสบชัยชนะ
เรื่องราวของการประสบชัยชนะ สำคัญกว่าตัวชัยชนะ

8.ทุกคนมีความรู้ความสามารถที่จะช่วยเหลือกันได้ ต่อให้พวกเขาไม่รู้ตัวว่ามีก็ตาม
เราจะค้นพบความสามารถของตนเมื่อเราลงมือทำจริงๆ
คุณไม่สามารถบอกได้ว่า เมื่อไหร่ที่คุณจะมอบความคิดซึ่งอาจจะมีความสำคัญให้กับผู้อื่น 
ดังนั้น การทำงานร่วมกันเป็นทีมมีความสำคัญมาก

9.อย่ากลัวที่จะไว้ใจกันและกัน

10.อย่ากลัวที่จะไว้ใจตัวเอง 

สุรเดช  วรรณศิริ
นักวิชาการพัฒนาชุมชน
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา