วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก....กับ...การสร้างรายได้ชุมชน

เจ้าของความรู้ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางคล้า

1. หลักการ
รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาโครงการหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  ที่เกิดจากศักยภาพของชุมชน อันก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน  โดยการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาอาชีพ  โดยรัฐบาลให้การสนับสนุน องค์ความรู้ใหม่ การเข้าถึงแหล่งทุน และพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการและการตลาด  เพื่อเชื่อมโยงสินค้าชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ   ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เป็นช่องทางหนึ่งในการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรจากแหล่งทุน  แหล่งผลิต แหล่งตลาด แหล่งความรู้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เป็นกลไกขับเคลื่อนให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพและการพัฒนากลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP  ให้มีคุณภาพและมาตรฐานสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มและชุมชนซึ่งส่งผลต่อประชาชนในหมู่บ้านให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน  โดยใช้กลยุทธ์ที่สำคัญ  คือ บูรณาการ  ประกอบด้วย 

  1. ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยพลังเครือข่ายชุมชน สู่การสร้างรายได้ชุมชน ด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจฐานรากของภาคีการพัฒนา  เช่น การจัดทำฐานข้อมูลและให้คำปรึกษาจับคู่ธุรกิจ
  2. เป็นศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการและพัฒนาขีดความสามารถด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน  เช่น การจัดทำแผนเจรจาธุรกิจ  แผนการตลาด
  3. การบริหารจัดการและให้บริการในรูปคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทนเครือข่าย OTOP เครือข่ายทุนชุมชน  ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและภาคีหน่วยงานภาครัฐ

2. ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. จัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สถานที่ถาวร หรือ เป็นจุดแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน
  2. คัดเลือกคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ที่มาจากเครือข่ายต่างๆ เช่น OTOP  กทบ. กข.คจ.  ออมทรัพย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ
  3. สร้างทีมวิทยากรจากคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เครือข่ายต่างๆ
  4. ให้บริการแสดงสินค้า OTOP ข้อมูลข่าวสาร งานเอกสาร  แบบฟอร์มต่างๆ ให้คำปรึกษาแนะนำ
  5. จัดบริการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก นอกสถานที่ ให้บริการความรู้ สาธิต ให้คำปรึกษา
  6. ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เป็นสถานที่พบปะเจรจาธุรกิจชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. แก่นความรู้

  1. การดำเนินงานศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับกลุ่ม องค์กรชุมชน ชุมชน ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP
  2. การมีส่วนร่วมของเครือข่าย  ชุมชน  สมาชิกศูนย์ เป็นพลังให้เกิดองค์ความรู้ เกิดการแลกเปลี่ยน
  3. การบูรณาการกิจกรรมในศูนย์ฯเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิก กลุ่ม องค์กร 
4. แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

  1. แนวทางการดำเนินงานเครือข่าย OTOP
  2. แนวทางการดำเนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ไขปัญหาความยากจน

ชื่อเรื่อง     เศรษฐกิจพอเพียงกับการแก้ไขปัญหาความยากจน
สังกัด        สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอคลองเขื่อน  จังหวัดฉะเชิงเทรา

                   เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง  หมายถึง  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบ ใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูง จากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน

เศรษฐกิจพอเพียงกับความยากจน
                   การที่เราจะสามารถทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาความยากจนได้อย่างถูกต้อง หรือใกล้เคียงความจริงนั้น เราจะต้องวิเคราะห์ตั้งแต่ปัญหาของความยากจนว่าคืออะไร? และเกิดขึ้นได้อย่างไร? ซึ่งหากพิจารณาจากสังคมปัจจุบันนั้น ปัญหาความยากจนได้แพร่กระจายไปสู่บุคคลทุกกลุ่มในสังคมไทย ดังนั้นความยากจนในที่นี้จึงหมายถึง การมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย จนถึงขั้นต้องกู้หนี้ยืมสินจากผู้อื่นมาใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวัน อันเนื่องมาจากการตกเป็นเหยื่อของลัทธิบริโภคนิยม วัตถุนิยมอย่างไร้ขอบเขตจำกัด
การปรับใช้แนวความคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมาแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแนะนำให้พสกนิกรของพระองค์นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ทฤษฎีใหม่ ที่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่พอมีพอกิน-อยู่ดีกินดี-มั่งมีศรีสุขโดยมีแนวทางปฏิบัติที่สำคัญคือ ควรให้ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของปัญหา ได้ค้นหาวิธีการในการแก้ปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาด้วยตัวเองให้มากที่สุด ประชาชนผู้ยากจนย่อมรู้สภาพปัญหาที่แท้จริงและรู้ความต้องการที่แท้จริงว่า พวกเขามีสภาพเช่นไร และมีความต้องการอะไรมากที่สุดตามลำดับความจำเป็น หน่วยงานภายนอกไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชนควรมีบทบาทเป็นพี่เลี้ยง คอยให้การชี้แนะและสนับสนุนทางด้านเทคนิคและวิชาการมากกว่าลงมือแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านโดยตรง
บทสรุป

 “เศรษฐกิจพอเพียงคือ มุ่งหวังที่จะให้บรรลุเป้าหมายในฐานะเป็นทางเลือกของสังคมในการดำเนินชีวิต และดำเนินกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อปรับตัวให้สามารถอยู่รอดในสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้อย่างมีความสุข การแก้ไขปัญหาความยากจนนั้นไม่ใช่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวหรือ ใครคนใดคนหนึ่ง แต่ทุกคนต้องร่วมมือกันจึงจะสาเร็จได้ ชีวิตที่พอเพียงจึงต้องเริ่มจากตัวเองก่อน เศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคล คือ ความสามารถในการดารงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อนมีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามอัตภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด เมื่อเริ่มจากตนเองได้แล้วก็ขยายผลไปสู่ครอบครัว เศรษฐกิจพอเพียงระดับครอบครัว คือ การพอมีพอกินไม่ฟุ่มเฟือยและไม่ฝืดเคืองนัก ส่วนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับชุมชน คือ ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ ประชาชนมีการรวมกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อต่อรองผลประโยชน์ที่เป็นธรรม การแก้ไขปัญหาความอยากจนด้วยความพอเพียง เดินทางสายกลางนั้นสามารถประยุกต์นาไปใช้ได้ทุกอาชีพ โดยยึดหลักการพอมีพอกิน-อยู่ดีกินดี-มั่งมีศรีสุข

การส่งเสริมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ

เจ้าของความรู้   กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
สังกัด             สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
วันที่บันทึก       วันที่ 15 มิถุนายน 2558
ชื่อเรื่อง           การส่งเสริมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
เนื้อเรื่อง
                    หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ คำคำนี้ได้ถูกพูดถึงมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว และได้มีความพยามยามที่จะหาคำจำกัดความ และความแตกต่างระหว่างหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
                   กรมการพัฒนาชุมชน ได้มีการวัดระดับของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ออกเป็น 3 ระดับ คือ           
                     1. ระดับพออยู่พอกิน หมู่บ้านที่ถูกจัดอยู่ในระดับนี้ อย่างน้อยจะต้องสามารถสะท้อนถึงความเป็นอยู่อย่างพอเพียงภาคครัวเรือนในภาพรวมของหมู่บ้านได้
                     2. ระดับอยู่ดีกินดี ในระดับนี้ จะมุ่งเน้นหมู่บ้านที่มีการขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบกลุ่มที่ดี มีประสิทธิภาพ 
                     3. ระดับมั่งมีศรีสุข เป็นระดับสูงสุดของการวัดผล ซึ่งหมู่บ้านที่ถูกจัดอยู่ในระดับนี้ จะต้องมีการเชื่อมโยงการดำเนินงานของกลุ่มต่างๆในชุมชนเข้าด้วยกันในรูปแบบของเครือข่าย รวมถึงเชื่อมโยงกับกลุ่ม/เครือข่ายอื่นที่อยู่ภายนอกชุมชน
                    หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 3 ระดับข้างต้น ต่างสามารถเป็นต้นแบบในระดับของตนเองได้ เช่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับพออยู่พอกินต้นแบบ หรือ เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับอยู่ดีกินดีต้นแบบ หรือ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับมั่งมีศรีสุขต้นแบบ แต่ในความเป็นต้นแบบนั้น หมู่บ้านจะต้องมี 2 สิ่งคือ 1. มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน/แหล่งเรียนรู้ของชุมชน 2. มีวิทยากรในการให้ความรู้ เพราะความเป็นต้นแบบนั้น จะต้องสามารถให้การเรียนรู้แก่บุคคลอื่นได้ หากไม่สามารถให้การเรียนรู้ได้ ก็คงจะเรียกได้ว่าเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่ต้นแบบ
                   มาถึงประเด็นที่ว่า แล้วอย่างไรจึงถือได้ว่าหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมีศูนย์เรียนรู้ชุมชน/  แหล่งเรียนรู้ของชุมชน ในกรณีนี้ หากหมู่บ้านมีการบริหารจัดการด้านใดด้านหนึ่งที่ดีและประสบผลสำเร็จ          จนสามารถเป็นตัวอย่างและถ่ายทอดให้กับหมู่บ้านอื่นทำตามได้ ก็นับได้ว่าหมู่บ้านมีแหล่งเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆแล้ว เช่น แหล่งเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ แหล่งเรียนรู้เรื่องการจัดสวัสดิการชุมชน     แหล่งเรียนรู้เรื่องกลุ่มอาชีพ แหล่งเรียนรู้เรื่องการพัฒนาอาชีพ แหล่งเรียนรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ แหล่งเรียนรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน แหล่งเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมชุมชน แหล่งเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน ฯลฯ
                   การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การส่งเสริมและกำกับดูแลของกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน จึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการยกระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงแห่งการเรียนรู้ กล่าวคือ เป็นหมู่บ้านที่มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน/แหล่งเรียนรู้ของชุมชน และมีบุคคลในหมู่บ้านที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ ด้วยอาศัยการดำเนินโครงการตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน มาเป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อน ดังนี้
                   1. ขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ด้วยกำหนดให้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง     ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน จะต้องยกระดับหมู่บ้านให้มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน/แหล่งเรียนรู้ของชุมชน เรียกว่าบ้านพี่ เพื่อเป็นต้นแบบให้หมู่บ้านอื่นในตำบลหรือนอกตำบลได้เข้ามาเรียนรู้ต่อไปในภายภาคหน้า
                   2. ประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและกิจกรรมงานพัฒนา โดยหมู่บ้านที่เข้าร่วมประกวดจะต้องนำเสนอความเป็นต้นแบบของการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้   ยังต้องมีศูนย์เรียนรู้/แหล่งเรียนรู้ของหมู่บ้าน ตลอดจนมีวิทยากรนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการที่เข้าไป ตรวจเยี่ยม       
                   3. ศูนย์เรียนรู้ชุมชนสมบูรณ์แบบ ด้วยส่งเสริมให้หมู่บ้านที่มีความพร้อม ได้มี/ยกระดับ   ศูนย์เรียนรู้เดิมให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนสมบูรณ์แบบ และร่วมออกหน่วยเคลื่อนที่ในระดับจังหวัด เพื่อเผยแพร่ความรู้ของศูนย์ไปสู่สาธารณะชน
                   4. ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ด้วยกำหนดให้หมู่บ้านที่เข้าสู่ระบบมาตรฐานการพัฒนา จะต้องมีการพัฒนาให้มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน และมีการจัดการความรู้ชุมชน ที่มีคุณภาพ ผ่านการประเมินและการรับรองจากคณะกรรมการระดับอำเภอและระดับจังหวัด

                   จากการดำเนินงานข้างต้น ทำให้ปัจจุบันจังหวัดฉะเชิงเทรามีหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เกินกว่าร้อยละ 25 ของหมู่บ้านทั้งหมดในจังหวัด ซึ่งมีความโดดเด่นทั้งในเรื่องการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชน/แหล่งเรียนรู้ชุมชน และการมีวิทยากรสำหรับให้ความรู้แก่ผู้ศึกษาดูงาน เช่น แหล่งเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่บ้านอ่างตะแบก ตำบลทุ่งพระยา อำเภอสนามชัยเขต แหล่งเรียนรู้ 1 ไร่ 1 แสนบ้านบางพุทรา ตำบล     เมืองใหม่ อำเภอราชสาส์น แหล่งเรียนรู้กลุ่มอาชีพไผ่ตงบ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ แหล่งเรียนรู้กองทุนชุมชนบ้านคลอง 18 ตำบลหมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว เป็นต้น 

สวัสดิการชุมชนสร้างกองทุนแม่ของแผ่นดินให้เข้มแข็ง

เจ้าของความรู้     กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน 
สังกัด              สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่อง            สวัสดิการชุมชนสร้างกองทุนแม่ของแผ่นดินให้เข้มแข็ง
เป็นงานเกี่ยวกับ   กองทุนแม่ของแผ่นดิน
เบอร์โทรศัพท์      038-511239
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ มกราคม – กันยายน 2557
สถานที่เกิดเหตุการณ์ 11 อำเภอ   รวม 198 กองทุน/หมู่บ้าน
เนื้อเรื่อง
  กระทรวงมหาดไทย มอบให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดินตั้งแต่ ปี 2547 เป็นต้นต้นมา เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง เอาชนะยาเสพติด โดยใช้พลังชุมชนในพื้นที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดฉะเชิงเทรา มีกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 198 กองทุน และกรมการพัฒนาชุมชน ได้สนับสนุนงบประมาณต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดินทุกปี เพื่อให้กองทุนแม่ของแผ่นดินมีความเข้มแข็งแลพะขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นต้องจัดสวัสดิการชุมชน เพื่อให้กองทุนแม่ของแผ่นดิน มีความเข้มแข็ง  
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Asset)
          . ติดตามผลการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง
          . ดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนแม่ของแผ่นดิน
          ๓. ส่งเสริมการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินต่อเนื่อง
          ๔. จัดกิจกรรมหาทุนกองทุนแม่ของแผ่นดินสม่ำเสมอ
แก่นความรู้ (Core Competency)
          ๑. การดำเนินงานของกองทุนแม่ของแผ่นดิน ต้องมีแผนปฏิบัติงาน
          การร่างระเบียบกองทุนแม่ของแผ่นดิน นำเข้าประชุมสมาชิก ลงมติ ประกาศใช้
3. การปฏิบัติตามระเบียบกองทุนแม่ของแผ่นดิน หมวดค่าใช้จ่ายเงินกองทุนแม่ของแผ่นดิน จัดสวัสดิการ ให้แก่สมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยใช้มติที่ประชุมสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยกระบวนการมีส่วนร่วม และการประสานงาน ตัวอย่าง ดังนี้
3.1 เด็กแรกเกิด ได้รับเงินขวัญถุง 599 บาท
3.2 ทุนการศึกษา อนุบาล 1 ทุน ประถมฯ 1 ทุน มัธยมฯ 1 ทุนๆ ละ 500 บาท
3.3 เจ็บป่วยเข้านอนโรงพยาบาลครั้งละ 500 บาท
3.4 สมาชิกตาย กองทุนแม่ซื้อพวงหรีดช่วยงานไม่เกิน 300 บาท ช่วยฌาปนกิจ 700 บาท
ดำเนินการตามระเบียบกองทุนแม่ของแผ่นดิน (ข้อ 3.1,3.2,3.3,3.4 ขึ้นอยู่กับเวทีประชาคมของ
แต่ละหมู่บ้าน เป็นผู้กำหนดโดยใช้เงินสมทบ,เงินบริจาค,เงินศรัทธาฯ โดยไม่นำเงินขวัญถุงพระราชทานมาใช้จ่าย)   
4.      ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
การจัดสวัสดิการให้สมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน เห็นประโยชน์อย่างแท้จริงของกองทุนแม่ฯ นอกจากจะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแล้ว ยังมีสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนถึงตาย เป็นการทำให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง เป็นที่ศรัทธาและเป็นศูนย์รวมใจของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน และทำให้กองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง
กลยุทธ์ในการทำงาน
วิทยากรดำเนินการจัดเวทีประชาคมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิค 5 ก และหลักการ 3 ข ในการดำเนินการประชุม ดังนี้
เทคนิค 5 ก ได้แก่
ก1 = สมาชิกกลุ่ม คือ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนแม่ฯ
ก2= กรรมการ ให้มีการเลือกคณะกรรมการกองทุนแม่ฯ จากสมาชิกกองทุนแม่
ก3= กติกา การดำเนินงานต้องมีกติกา หรือระเบียบกองทุนแม่ฯ ไว้สำหรับให้กรรมการและสมาชิกกองทุนแม่ฯ ยึดถือในการปฏิบัติงาน
ก4= กิจกรรม การดำเนินงานกองทุนแม่ฯต้องมีการกำหนดกิจกรรมหรือแผนงานไว้สำหรับการปฏิบัติงาน
ก5=  การดำเนินงาน คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนแม่ต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์กองทุนแม่ฯ ที่ได้กำหนดไว้
หลักการ 3 ข ได้แก่
          ข1 = เล่าเรื่องของ ยกตัวอย่างกองทุนแม่ของแผ่นดินที่เข้มแข็ง ด้านการบริหารงานงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีการดำเนินการอย่างไร, ด้านการบริหารจัดการเงินทุน มีการดำเนินการอย่างไร, ด้านกิจกรรมเด่นของกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีอะไรบ้าง, มีปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข
          ข2 = ให้ดูของ คือให้ดูวิดีโอศูนย์เรียนกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่น ของภาคต่าง ๆ จำนวน 3 เรื่อง และนำคณะกรรมการศึกษาดูงานหมู่บ้านกองทุนแม่ดีเด่น
          ข3= ให้ทำของ ให้คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ระดมความคิดว่าจะวางแผนการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน จะมีวิธีดำเนินการอย่างไร
          การดำเนินงานโดยใช้เทคนิค 5 ก และและการการ 3 ข ผสมผสานกับการจัดทำระเบียบกองทุนแม่ฯ แบบมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนแม่ฯ เพื่อจัดให้สมาชิกได้มีสวัสดิการเป็นการเอื้ออาทร ดูแลกันเองของคนในชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ปลอดภัยจากยาเสพติด
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1.      แนวทางการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน

2.      การมีส่วนร่วม

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การส่งเสริมช่องทางการตลาด OTOP

ชื่อ สกุล นายเนตร  ขันคำ
ตำแหน่ง พัฒนาการอำเภอท่าตะเกียบ
สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ
หมายเลขโทรศัพท์ 081-2652403
ชื่อเรื่อง “ การส่งเสริมช่องทางการตลาด OTOP” 


เนื้อเรื่อง
ปี 2558  กรมการพัฒนาชุมชนได้มีการส่งเสริมการตลาดสินค้า OTOP เชิงรุกสู่สากลในหลากหลายช่องทาง เช่น
     1. โครงการ OTOP Midyear เป็นการเปิดตลาดให้ผู้ประกอบการ ที่มีสินค้า ระดับ 3-5 ดาวได้มีแหล่งจำหน่ายสินค้าให้ผู้บริโภคโดยตรง
     2. โครงการ OTOP Delivery โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำส่งผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีอยู่ทุกจังหวัดทั่วส่งตรงถึงผู้บริโภคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเพื่อเป็นช่องทางการตลาดให้กับผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP อีกทางหนึ่ง
     3. โครงการ OTOP Mobile to the Factoryเพื่อให้ผู้ผลิต,ผู้ประกอบการ OTOP ได้เรียนรู้ทักษะด้านการบริหารจัดการ และเป็นการส่งเสริมด้านการตลาดสินค้า OTOP เพิ่มช่องทางทางการจำหน่ายสินค้า OTOP และความร่วมมือช่วยเหลือกันระหว่างชุมชนกับโรงงาน และชุมชนกับชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว
     4. การนำเสนอสินค้า OTOP ทางเว็บไซด์ของอำเภอ และเว็บไซด์ไทยตำบล ดอทคอม
     5. การจำหน่ายสินค้าในตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้ ของแต่ละชุมชน อำเภอ

เทคนิค
สำนักงานพัฒนาชุมชน ได้จัดประชุมคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ระดับอำเภอ เพื่อชี้แจงการดำเนินงานต่างๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาดแก่กลุ่ม OTOP ในเชิงรุก โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากส่วนต่างๆในการดำเนินการ ดังนี้
     1. การพัฒนา OTOP โดยอาศัยกลไกการขับเคลื่อนของคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ระดับอำเภอ และระดับตำบล ในการประสานความร่วมมือ
     2. การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ หรือด้านวิชาการ  
     3. การมีวิสัยทัศน์ในการทำงานของคณะกรรมการเครือข่าย OTOP     4. การนำระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และแหล่งจำหน่าย OTOP รวมถึงการมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ในแต่ละด้านมาบูรณาการร่วมกัน

แก่นความรู้
     1. การประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ/ภาคเอกชนคณะกรรมการเครือข่าย OTOP และกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP
     2. การพัฒนาการเรียนรู้ในเรื่องเทคโนโลยี เทคนิค วิธีการ ด้านการผลิต การตลาด การศึกษาความเป็นไปได้ของตลาดของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท
     3. แนวคิดในการนำสินค้าของชุมชนให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุด รวมถึงการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับเพิ่มมากขึ้น

กลยุทธ์ในการทำงาน
     1. การสร้างความเข้าใจ ทัศนคติ และความสัมพันธ์ที่ดีกับคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าของชุมชน
     2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนา OTOP ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่าย OTOP ระดับอำเภอ
     3. กระตุ้นให้ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ มีกำลังใจในการพัฒนาสินค้า โดยการส่งเสริมด้านการตลาดให้กับทุกกลุ่ม ทุกราย


แนวคิด ทฤษฏีที่สอดคล้อง
     1. ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่าย และ ชุมชน
     2. การพัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ แก่กลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการ OTOP        
     3. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ

ชื่อ  นางชยาภา    วิเลปะนะ
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่าตะเกียบ

ชื่อเรื่อง การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ



ตามที่กระทรวงมหาดไทย กำหนดให้การดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ โครงการลดความเลื่อมล้ำด้านรายได้ด้วยการขจัดความยากจนในชนบท เป็นงานสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ในการตอบสนองต่ออุดมการณ์ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว กรมการพัฒนาชุมชน จึงจัดทำโครงการการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารจัดการชีวิต และดูแลชีวิต โดยการบูรณาการความร่วมมือจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตครัวเรือนยากจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณพ์ ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2557 (30,000 บาท/คน/ปี) ให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวทั้งด้านการพัฒนาทักษะอาชีพตามศักยภาพ และการได้รับการสงเคราะห์ดูแลจากหน่วยงานและชุมชน 


การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการของจังหวัดฉะเชิงเทรา
          การดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน ปี 2558 จังหวัดฉะเชิงเทรา  โดยพัฒนาการจังหวัดฉะเชิงเทรา  ได้มอบนโยบายนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ ด้วยการมอบนโยบายให้พัฒนากร ดำเนินการในพื้นที่ 
          - ส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง และมีความเสียสละ
          - ส่งเสริมกองทุนให้เข้มแข็ง สามารถสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนได้
          - ส่งเสริมให้กองทุน/ชุมชน มีสวัสดิการที่สามารถช่วยเหลือคนยากจนและคนด้อยโอกาส
          - ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง
          การดำเนินงานตามโครงการนี้ เน้นให้ผู้นำชุมชน และครัวเรือนยากจนมีจิตสำนักและความเชื่อมันในการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง เน้นความเชื่อมั่นในหลักคุณธรรม การเสริมสร้างครอบครัวให้อบอุ่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การรวมกลุ่มประกอบอาชีพ การเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน การบูรณาการการทำงานในพื้นที่

กลยุทธ์ในการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จ
          - การบูรณาการการทำงานในพื้นที่กับหน่วยงานของรัฐและเอกชน  โดยการสร้างทีมงานระดับตำบล  ประกอบด้วย  ผู้นำ อช.  ประธาน กพสม. ปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่ อบต. เจ้าหน้าที่ กศน. เจ้าหน้าที่เกษตรและเจ้าหน้าที่สาธรณสุข โดยมี พัฒนากร เป็นเลขานุการ
        
ปัจจัยที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนของอำเภอท่าตะเกียบ มีดังนี้          
          1. แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาชนบท ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  (ศจพ.อำเภอ/ศจพ.ตำบล/ศจพ.หมู่บ้าน) ซึ่งได้บูรณาการทำงานกับหน่วยงาน
          2. สร้างชุดทีมปฏิบัติการ (ทีเคาะประตู) โดยเน้นผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน และองค์กรสตรีให้มีบาทบาทในการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน
          3. วิเคราะห์ปัญหาครัวเรือนที่ตกเกณฑ์มาจากสาเหตุอะไรตามหลัก 4 ท (ทัศนะ ทักษะ ทรัพยากร ทางออก)
          3. จัดทำทะเบียนครัวเรือนยากจน ยากตามกลุ่มปัญหา  ครัวเรือนที่สงเคราะห์ และครัวเรือนที่พัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
          4. จัดทำ 
          3. วิเคราะห์ปัญหาครัวเรือนที่ตกเกณฑ์มาจากสาเหตุอะไรตามหลัก 4 ท (ทัศนะ ทักษะ ทรัพยากร ทางออก)
          3. จัดทำทะเบียนครัวเรือนยากจน ยากตามกลุ่มปัญหา  ครัวเรือนที่สงเคราะห์ และครัวเรือนที่พัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
          4. จัดทำ Family Folders เพื่อเป็นฐานข้อมูลครัวเรือนยากจนให้กับคณะทำงานระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล/หมู่บ้าน
          5. ประชุมคณะทำงานทุกระดับวางแผนการจัดหางบประมาณ เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ด้วยการประสานภาคีการพัฒนางบประมาณในการสนับสนุนปฏิบัติการตำบลร่วมกับครัวเรือนยากจนจัดทำเข็มทิศชีวิต
          6. จัดเวทีสรุปบทเรียนเพื่อทราบปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจน  เพื่อเสนอครอบครัวยากจนในปีต่อไป 
          5. ประชุมคณะทำงานทุกระดับวางแผนการจัดหางบประมาณ เพื่อช่วยเหลือครัวเรือนยากจน ด้วยการประสานภาคีการพัฒนางบประมาณในการสนับสนุนปฏิบัติการตำบลร่วมกับครัวเรือนยากจนจัดทำเข็มทิศชีวิต
          6. จัดเวทีสรุปบทเรียนเพื่อทราบปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจน  เพื่อเสนอครอบครัวยากจนในปีต่อไป 

การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ คือ การทำงานแบบมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาคีการพัฒนาทั้งในส่วนราชการ ครัวเรือนยากจน ผู้นำชุมชน และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทุกภาคส่วนจะต้องให้ความร่วมมือในการทำงานตามแผนการปฏิบัติการแก้จนอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน ซึ่งจะครอบคลุมถึงการเกื้อกันภายในชุมชน เช่น การมีสวัสดิการชุมชน และการมีส่วนร่วมในการเอาใจใส่ให้การสนับสนุนงบประมาณ การให้โอกาสในการส่งเสริมอาชี ส่งเสริมการเรียนรู้ และการให้โอกาสในการส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการเรียนรู้ และการให้คำปรึกษาแนะนำอย่างถูกต้องในการดำเนินชีวิต

การเขียน KM (การจัดการความรู้)

ชื่อ-นามสกุล     นายสิทธิชัย ปาหุไณยกุล
ตำแหน่ง         นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด             กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สพจ.ฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่อง           การเขียน KM (การจัดการความรู้)

                    จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกระดับ เขียน KM (การจัดการความรู้) จากประสบการทำงาน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 และนำไปเผยแพร่ในเว็บไซด์ http://kmcddccs.blogspot.com/ เพื่อให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและบุคคลภายนอกได้เรียนรู้ถึง เทคนิค วิธีการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ จังหวัดยังได้จัดทำเกียรติบัตรมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เขียน KM ได้ดี เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้เขียน KM
                   จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ไม่เคยได้รับรางวัล แต่ได้ศึกษาการเขียน KM เห็นว่า KM ที่ดีควรประกอบด้วย
1.      เนื้อหาไม่ยาวเกินไป ยิ่งสั้นยิ่งดี แต่ต้องต้องได้ใจความครบถ้วน เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบอ่านเรื่องราวที่มีเนื้อหายาว แต่จะเลือกอ่านเรื่องที่มีเนื้อหาสั้น
2.      มีแผนผัง/แผนภาพประกอบ จะเพิ่มความน่าสนใจ และเมื่ออ่านจะทำให้เข้าใจเนื้อหา ได้ง่ายยิ่งขึ้น
3.      มีการเล่นคำ เช่น 3 ป , 4 ง , 5 จ ฯลฯ จะทำรูปคำดูสละสลวย ชวนให้น่าอ่าน         น่าติดตาม ซึ่งคนอ่านจะมีความสนใจว่า 3 ป มันคืออะไร หรือ 4 ง ประกอบด้วยอะไรบ้าง

                   ในที่นี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง ผลงานที่เคยได้รับรางวัล KM ดีเด่น ปี 2557 และเชื่อว่า      หากผู้อ่านนำไปใช้ในการเขียน KM หรือเรื่องราวต่างๆ แล้ว ก็คงจะเป็นผู้ที่สามารถเขียนได้ดีคนหนึ่ง
http://kmcddccs.blogspot.com/2014/06/blog-post_24.html

การจัดสวัสดิการชุมชนสร้างกองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง

เจ้าของความรู้     นายสมเกียรติ  คำแพ่ง                                                                           ตำแหน่ง           นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ              
สังกัด              สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่อง            การจัดสวัสดิการชุมชนสร้างกองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง
เป็นงานเกี่ยวกับ   กองทุนแม่ของแผ่นดิน
เบอร์โทรศัพท์      089-5240187
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ  ปี พ.ศ.2557
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านราชสาส์น หมู่ที่ 2 ตำบลบางคา จังหวัดฉะเชิงเทรา
เนื้อเรื่อง
    กระทรวงมหาดไทย มอบให้กรมการพัฒนาชุมชน เป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนกองทุนแม่ของแผ่นดินตั้งแต่ ปี 2547 เป็นต้นต้นมา เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง เอาชนะยาเสพติด โดยใช้พลังชุมชนในพื้นที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดฉะเชิงเทรา มีกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 198 กองทุน และกรมการพัฒนาชุมชน ได้สนับสนุนงบประมาณต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดินทุกปี เพื่อให้กองทุนแม่ของแผ่นดินมีความเข้มแข็งแลพะขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจึงจำเป็นต้องจัดสวัสดิการชุมชน เพื่อให้กองทุนแม่ของแผ่นดิน มีความเข้มแข็ง  
          ข้าพเจ้าในฐานะนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด รับผิดชอบงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ได้ไปเป็นวิทยากรบรรยายกองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ 2 บ้านราชสาส์น ตำบลบางคา อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา
บันทึกขุมความรู้ (Knowledge Asset)
          . การติดตามการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง
          . การดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินจะให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนแม่ของแผ่นดิน
           ๓. การส่งเสริมการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดินต่อเนื่อง
                    ๔. จัดกิจกรรมหาทุนกองทุนแม่ของแผ่นดินสม่ำเสมอ
แก่นความรู้ (Core Competency)
          ๑. ติดตามผลการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ต้องมีแผนปฏิบัติงาน
          การนำเข้าประชุมสมาชิก ลงมติ ประกาศใช้นำเข้าประชุมสมาชิก ลงมติ ประกาศใช้ร่างระเบียบกองทุนแม่ของแผ่นดิน นำเข้าประชุมสมาชิก ลงมติ ประกาศใช้ 
3. การปฏิบัติตามระเบียบกองทุนแม่ของแผ่นดิน หมวดค่าใช้จ่ายเงินกองทุนแม่ของแผ่นดิน จัดสวัสดิการ ให้แก่สมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยใช้มติที่ประชุมสมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยกระบวนการมีส่วนร่วม และการประสานงาน ตัวอย่าง ดังนี้
3.1 เด็กแรกเกิด ได้รับเงินขวัญถุง 599 บาท
3.2 ทุนการศึกษา อนุบาล 1 ทุน ประถมฯ 1 ทุน มัธยมฯ 1 ทุนๆ ละ 500 บาท
3.3 เจ็บป่วยเข้านอนโรงพยาบาลครั้งละ 500 บาท
3.4 สมาชิกตาย กองทุนแม่ซื้อพวงหรีดช่วยงานไม่เกิน 300 บาท ช่วยฌาปนกิจ 700 บาท
ดำเนินการตามระเบียบกองทุนแม่ของแผ่นดิน (ข้อ 3.1,3.2,3.3,3.4 ขึ้นอยู่กับเวทีประชาคมของ
แต่ละหมู่บ้าน เป็นผู้กำหนดโดยนำเงินสมทบ,เงินทุนศรัทธา,เงินบริจาค ไม่นำเงินขวัญถุงพระราชทานมาใช้จ่าย)
การจัดสวัสดิการให้สมาชิกกองทุนแม่ของแผ่นดิน จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน เห็นประโยชน์อย่างแท้จริงของกองทุนแม่ฯ นอกจากจะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแล้ว ยังมีสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนถึงตาย เป็นการทำให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง เป็นที่ศรัทธาและเป็นศูนย์รวมใจของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน และทำให้กองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง
กลยุทธ์ในการทำงาน
วิทยากรดำเนินการจัดเวทีประชาคมแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิค 5 ก และหลักการ 3 ข ในการดำเนินการประชุม ดังนี้
เทคนิค 5 ก ได้แก่
ก1 = สมาชิกกลุ่ม คือ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนแม่ฯ
ก2= กรรมการ ให้มีการเลือกคณะกรรมการกองทุนแม่ฯ จากสมาชิกกองทุนแม่
ก3= กติกา การดำเนินงานต้องมีกติกา หรือระเบียบกองทุนแม่ฯ ไว้สำหรับให้กรรมการและสมาชิกกองทุนแม่ฯ ยึดถือในการปฏิบัติงาน
ก4= กิจกรรม การดำเนินงานกองทุนแม่ฯต้องมีการกำหนดกิจกรรมหรือแผนงานไว้สำหรับการปฏิบัติงาน
ก5=  การดำเนินงาน คณะกรรมการและสมาชิกกองทุนแม่ต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์กองทุนแม่ฯ ที่ได้กำหนดไว้
หลักการ 3 ข ได้แก่
          ข1 = เล่าเรื่องของ ยกตัวอย่างกองทุนแม่ของแผ่นดินที่เข้มแข็ง ด้านการบริหารงานงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีการดำเนินการอย่างไร, ด้านการบริหารจัดการเงินทุน มีการดำเนินการอย่างไร, ด้านกิจกรรมเด่นของกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีอะไรบ้าง, มีปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข
          ข2 = ให้ดูของ คือให้ดูวิดีโอศูนย์เรียนกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่น ของภาคต่าง ๆ จำนวน 3 เรื่อง และนำคณะกรรมการศึกษาดูงานหมู่บ้านกองทุนแม่ดีเด่น
          ข3= ให้ทำของ ให้คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดิน ระดมความคิดว่าจะวางแผนการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน จะมีวิธีดำเนินการอย่างไร
          การดำเนินงานโดยใช้เทคนิค 5 ก และและการการ 3 ข ผสมผสานกับการจัดทำระเบียบกองทุนแม่ฯ แบบมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนแม่ฯ เพื่อจัดให้สมาชิกได้มีสวัสดิการเป็นการเอื้ออาทร ดูแลกันเองของคนในชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ปลอดภัยจากยาเสพติด
กฎระเบียบ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1.      แนวทางการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
2.      ระเบียบเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2557

3.      การมีส่วนร่วม

การประชาคม

ชื่อ - สกุล    นายศิริชัย  ตันตระกูล
ตำแหน่ง      นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด          กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
ชื่อเรื่อง        การประชาคม

        พ.ศ.2504 ผู้ใหญ่ลีตีกองประชุม .......หลายคนอาจจะเคยได้ยินเสียงเพลงนี้ แต่มันนานมากแล้วละ ลองบวกลบคูณหาร (2558-2504  ได้ 54 ) นี่ว่ากันตามพ.ศ. เอาสัก 20- 30 ปี ก็นับว่านานพอดู แต่สำหรับผมแล้ว ผมจะใช้เป็นบทนำก่อนการประชาคมในชุมชน เพราะนั้นมันก็คือประชุมหรือประชาคมนั่นเอง  การประชาคมเป็นวิธีการหนึ่งของงานพัฒนาชุมชนที่ใช้ในการทำงาน เพราะเราสามารถที่ใช้สื่อสารการเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมายได้ในปริมาณที่มากและการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย พัฒนากรต้องทำได้ทุกอย่างสมดังที่เปรียบเทียบว่าเหมือนเป็ด ทำตั้งแต่ภารโรง วิทยากร ให้ความบันเทิง(หมายถึงร้องเพลงประกอบจังหวะ,เล่านิทาน เป็นต้น)
ทีนี่มาพูดถึงการประชาคม การจะดำเนินการประชาคมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัด  ให้เกิดประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบที่หลากหลายก็ขอพูดคุยในประสบการณ์ที่ผ่านมาและปัจจุบันก็ยังคงใช้อยู่เมื่อมีโอกาสเสมอๆ ได้แก่
1.สถานที่ประชาคม วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมืออำนวยความสะดวกในการจัด เราไม่สามารถจะกำหนดอะไรที่แน่นอนว่าต้องอย่างอย่างนี้ ที่จะบอกก็คือรับได้ทุกสถานการณ์นั่นคือพัฒนาชุมชน ในกรณีที่มีสถานที่แน่นอน เช่นศาลากลางบ้าน ศาลาประชาคม ศูนย์เรียนรู้ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี่ ก็สุดแต่จะเรียก ถ้าอย่างนี้ถือว่าดีเพราะมีหลังคาป้องกันแดด ป้องกันฝนได้ ความจุก็ไม่มาก เพราะงานพัฒนาชุมชนคนมากไปก็เอาสาระไม่ได้ ถ้าอยู่ประมาณ 50-60 คนก็โอเค
2.การเตรียมความพร้อมของที่ประชาคม โดยเฉพาะ คนเข้าร่วมประชุม เราต้องจัดการควบคุมกลุ่มเป้าหมายให้นิ่งให้ได้ เทคนิคก็อยู่ที่เราต้องสร้างความเป็นกันเอง ตรวจสอบจำนวนยอด บ้านอะไร หมู่ที่ ตำบล จนถึงอำเภอ และในขณะเดียวกันการเรียกความสนใจของกลุ่มเป้าหายเพราะโดยเฉพาะผู้หญิงเจอกันเมื่อไรเหมือนตลาดนัด ก็ต้องทำให้เงียบให้ได้ วิธีการที่ผมใช้ก็คือการเรียกชื่อหมู่บ้านแล้วลงท้ายด้วยคำว่าจ้า  ตัวอย่างบ้านหลุมมะขาม ก็เรียกว่าหลุมมะขามจ้า แล้วก็ต้องให้กลุ่มเป้าหมายบ้านหลุมมะขามตอบด้วยว่าจ้า ถ้าตอบไม่ดังก็เรียกให้ตอบใหม่
3.การบริหารความขัดแย้ง เป็นเรื่องปกติของมนุษย์เมื่ออยู่รวมกัน  ถ้าถามเรื่องความคิดเมื่อไร กลุ่มคนที่เสียประโยชน์ก็จะไม่เห็นด้วย ส่วนกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์ก็ยอมรับได้  ดังนั้นหากเราเป็นผู้ดำเนินการ  เราก็ต้องจัดการกับความขัดแย้ง และให้ที่ประชาคมดำเนินการต่อไป  ให้ได้ข้อยุติหรือข้อสรุปให้ได้ การหาแนวทางสยบบรรยากาศในขณะขัดแย้งเป็นแต่ละเรื่องผู้ดำเนินการต้องมีไหวพริบ ทักษะแต่ละเรื่องอาจไม่เหมือนกัน เช่น การประชาคมเพื่อทำกิจกรรมบ้างอย่าง ก็ต้องดูวัตถุประสงค์ของกิจกรรมนั้นแล้วย้อนถามที่ประชุม เพื่อเรียกความสามัคคีกลับคืนมา

การประชาคมผู้ดำเนินการต้องฝึกทำอยู่บ่อยๆครั้ง เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและปัญหาที่จะเกิดขึ้นโดยความเรียบร้อย  ต้องเป็นคนที่แสวงหาความรู้  ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน มีความรู้รอบตัวดี  สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย  ตลอดจนไม่ถือตัว พูดคุยกับคนทุกเพศ ทุกวัยได้  เหล่านี้ก็จะทำให้ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้ดำเนินการจัดเวทีประชาคม

การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

องค์ความรู้ : การบริหารจัดการองค์กรและทรัพยากรบุคคล
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
เจ้าของความรู้ : นางธัญสินี  แก้วศิริ
ตำแหน่ง/สังกัด : หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
การแก้ปัญหาเกี่ยวกับ : บุคลากรขาดทัศนคติที่ดีในการทำงาน ขาดประสิทธิภาพ
                              ในการทำงาน ชีวิตขาดสมดุล ขาดความสุขในการทำงาน
๑. ความเป็นมา
                  กรมการพัฒนาชุมชน  พัฒนาองค์กรตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA)  โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาองค์กรเป็นหน่วยงานที่มีสมรรถนะสูง เป็นองค์กรที่เก่งและดี ซึ่งจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของกรมการพัฒนาชุมชนให้บรรลุเป้าประสงค์ขององค์กร คือ องค์กรมีสมรรถนะสูงเกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน  โดยกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาองค์กรคือประเด็นยุทธศาสตร์ที่๕ เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง  จากการที่ผู้ปฏิบัติได้สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินงานการบริหารจัดการองค์กรและทรัพยากรบุคคล   เนื่องจากบุคลากรมีจำนวนจำกัดไม่เพียงพอต่อจำนวนพื้นที่ พัฒนากรบางคนรับผิดชอบงานพื้นที่หลายตำบล  กอปรกับงานภารกิจงานประจำสำนักงานที่ต้องดำเนินการและรายงานเป็นประจำทั้งนโยบายรัฐบาล กระทรวง กรมและจังหวัด  ทำให้ขาดทัศนคติที่ดีในการทำงาน ชีวิตขาดความสมดุล ไม่มีความสุขในการทำงาน ส่งผลต่อการขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน
 
                สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงได้จัดทำโครงการ”พชแปดริ้ว น่าอยู่ น่าดู น่ารัก CDD PADREW WORK SMART”ขึ้นเพื่อให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน โดยนำเอาค่านิยมองค์การ(ABCDEF S & P)และกิจกรรม ๕ ส มาขับเคลื่อนในการทำงาน  เพื่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนการทำงานเสริมสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานและปฏิบัติงานอย่างมีความสุขเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล จนบรรลุเป้าประสงค์ขององค์กรและส่งผลต่อภาพลักษณ์อันพึงประสงค์ขององค์กรต่อไป

๒. วิธีการดำเนินงาน
                  ๑.จัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บริหารและบุคลากรในสังกัด
                  ๒.ประกาศนโยบาย วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
                  ๓.สร้างความรู้ ความเข้าใจและวิธีการขับเคลื่อนโครงการ
                  ๔.จัดแผนปฏิบัติการและดำเนินการตามแผนฯ
                  ๕.ติดตาม ประเมินผลและสรุปรายงานผลต่อผู้บริหาร 
                  ๖.มอบใบประกาศเกียรติคุณแก่หน่วยงานต้นแบบและบุคคลต้นแบบ(โครงการ ๕ ส และ
การขับเคลื่อนค่านิยมองค์การ ABCDEF S&P)
๓. ขุมความรู้
          ๓.๑ การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม
          ๓.๒ การทำงานเป็นทีม
          ๓.๓ การสร้างกระบวนการเรียนรู้
         ๓.KM นวตกรรม ต้นแบบที่ดีในการดำเนินงานในปีต่อไป
๔. แก่นความรู้
- การมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ทุกคนในองค์กร ทุกคนมีส่วนร่วมตั้งแต่ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และร่วมรับผลประโยชน์จากกิจกรรมร่วมกันในลักษณะ “WIN WIN
- การทำงานเป็นทีม โดยแบ่งงานตามบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทุกคน ต้องออกคำสั่งมอบหมายหน้าที่ภารกิจให้ชัดเจน
- การสร้างกระบวนการเรียนรู้ โดยการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ปรับปรุงสำนักงานร่วมกันให้
มีสภาพแวดล้อมที่ดี น่าอยู่ น่าทำงานและสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานโดยนำค่านิยมองค์การ(ABCDEF  S&P)มาขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน
- มีการสำรวจความพึงพอใจ สภาพแวดล้อมสถานที่ทำงาน จากเจ้าหน้าที่ทุกคนในองค์กรและผู้มาติดต่อราชการ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขโดยปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เกิดมุมมองที่ดีต่อการทำงานให้มีความคิดเชิงสร้างสรรค์
- ดำเนินการตามมาตรการ/แผนปฏิบัติการ อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
- เสริมสร้างแรงจูงใจและยกย่องเชิดชูเกียรติ

. กลยุทธ์การทำงาน
          ใช้กลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม และการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน  ในทุกขั้นตอนการพัฒนา ตั้งแต่ร่วมวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ ร่วมวางแผนพัฒนา ร่วมสร้างประโยชน์และใช้ประโยชน์ ร่วมรับผลประโยชน์ด้วยความพึงพอใจ และร่วมประเมินผลจากการพัฒนา เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล ทำงานอย่างความสุข และบรรลุเป้าประสงค์ขององค์กร
๖. แนวคิดทฤษฎี
          ๖.๑ ทฤษฎีการมีส่วนร่วม
          ๖.๒ ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ
          ๖.๓ หลักการทำงานเป็นทีม
          .๔ ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
          ๖.๕ ทฤษฎีความต้องการ
          ๖.๖ ทฤษฎีการเรียนรู้

         ๖.๗ เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PMQA)

องค์ความรู้จากการติดตามการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชา

ชื่อ  สกุล  นางกาญจนา   ประสพศิลป์
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด   กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา
เบอร์โทรศัพท์  08-9831-5435
ชื่อเรื่อง องค์ความรู้จากการติดตามการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชา
เป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติงานในพื้นที่
เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ  ปี 2558
สถานที่เกิดเหตุ  พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

เนื้อเรื่อง
          พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา มี 11 อำเภอ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งมีหน้าที่สำคัญต้องสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง บรรลุตามวิสัยทัศน์ของกรมการพัฒนาชุมชน ด้วยการแปลงนโยบายจัดทำยุทธศาสตร์ ถ่ายทอด มาสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม และติดตามสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
          จากการที่ข้าพเจ้า ได้มีโอกาสติดตามการตรวจราชการของผู้บังคับบัญชา นางสาวเพ็ญแข  ศรีสุทธิกุล ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งข้าพเจ้ามีหน้าที่ต้องให้ข้อมูล และรับนโยบายมาถ่ายทอดเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม สามารถขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ บรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชน “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” ก็เลยอยากถ่ายทอดความรู้และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานที่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ เป็นแนวทาง เป็นกำลังใจในการปฏิบัติงานให้กับเพื่อนร่วมงานทุกคน ดังนี้
1.   การทำงาน ให้มองโลกในแง่บวก ให้ภูมิใจกับงานที่ทำ และตั้งใจทำให้ดีที่สุด เพราะเป็นงานที่สร้างบุญ
สร้างกุศล สร้างงาน สร้างอาชีพ ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี (เติมเอง...ทำสำเร็จบารมีเกิด) เมื่อใดที่ท้อให้มองอาชีพอื่น ต้องไปฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต ต้องไปไล่จับผู้ร้าย ฯลฯ
2.    การสรุปผลงานให้ผู้บังคับบัญชา ควรมีข้อมูลเป็นรูปธรรม ดังนี้
2.1 ข้อมูลทั่วไปของอำเภอ/สำนักงาน
2.2 แผนที่ยุทธศาสตร์ของสำนักงาน
2.3 ข้อมูลงานกิจกรรมตามยุทธศาสตร์ของกรม ฯ ในแต่ละกิจกรรมประกอบด้วย
1) ข้อมูลพื้นฐาน จำนวนเท่าไร
2) ดำเนินการไปได้เท่าไร อย่างไร
3) กิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อ
4) ปัญหา/อุปสรรค
5) ได้ดำเนินการแก้ไข ไปแล้ว อย่างไร
2.4 ข้อมูลที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งอื่น อะไรบ้าง ดำเนินการไปแล้วอย่างไร มีปัญหา/อุปสรรค


2.5   กิจกรรมเด่นที่เป็นแบบอย่าง สามารถศึกษาดูงานได้ มีที่ไหนบ้าง
3.   
การสร้าง และพัฒนาทีมงานภายใต้สถานการณ์ “คนน้อย เงินน้อย งานมาก” โดยการสร้างทีมงาน
ที่ประกอบด้วย ผู้นำกับเจ้าหน้าที่ ในลักษณะทีมงานเชิงพื้นที่ ทีมงานตามประเด็นงาน ทีมผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้     “โต๊ะผู้นำ” เป็นเครื่องมือสร้างการมีส่วนร่วมและพัฒนางานตามภารกิจ
4.      การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
4.1    ให้จัดทำฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ (ได้รับงบกรมฯ,หน่วยงานภาคี)
4.2   วางแผนการพัฒนาให้มีศักยภาพเป็นศูนย์เรียนรู้ได้ โดยใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน
เป็นตัวอย่างได้
5     จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตามแนวทางของกรมฯ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างคุณธรรม ให้กับคนในชุมชน และสร้างนิสัยในการออม ในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และหมู่บ้านที่มีเงินทุน กข.คจ. หมู่บ้านที่มีความพร้อม
6     การดำเนินงานตลาดนัดชุมชน ไทยช่วยไทย คนไทยยิ้มได้
6.1    ต้องวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาด เช่น ทำเล ลูกค้า ผลิตภัณฑ์ที่นำมาจำหน่าย ฯลฯ
6.2    ต้องจัดสถานที่ สร้างบรรยากาศให้น่าสนใจ
6.3    ต้องมีความต่อเนื่อง ยั่งยืน ไม่ใช่ทำครั้งเดียว (มีการจัดเก็บรายได้ เพื่อให้มีส่วนร่วม และนำมา
วิเคราะห์ ความเป็นไปได้ หรือแก้ไข ปรับปรุง)
6.4    พัฒนาสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะพื้นที่ให้มีความโดดเด่น
7.      การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่ม D
    7.1 ให้ใช้พลังเครือข่าย OTOP ที่มีศักยภาพ เป็นพี่เลี้ยง ให้คำปรึกษาในการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์
มาตรฐานสินค้า หรือจับคู่ในการให้คำปรึกษาเป็นพี่เลี้ยง
7.2   ส่งเริมช่องทางการจำหน่าย
8.      การดำเนินงานศูนย์เศรษฐกิจฐานราก
8.1 รูปแบบคลินิกบริการประจำวัน  โดยมีคณะกรรมการศูนย์ฯ เป็นผู้ให้บริการ สร้างเครือข่าย
ศูนย์บริการนอกพื้นที่ เป็นจุดเรียนรู้มีทีมวิทยากรถ่ายทอดความรู้ มีกิจกรรมสาธิต ปฏิบัติได้ การจับคู่ให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ        
              8.2 รูปแบบการบริการนอกสถานที่ เช่น ออกบูธร่วมกับจังหวัดเคลื่อนที่ อำเภอเคลื่อนที่ โดยจัดเป็น
คลิกนิค ให้บริการในเรื่องต่างๆ เช่น รับปรึกษาให้คำแนะนำการจัดทำบัญชีครัวเรือน การปิดงบดุลกองทุนหมู่บ้าน โครงการ กข.คจ. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การสาธิตทำน้ำยาล้างจาน ทำปุ๋ยชีวิภาพ สาธิตการทำอาหารพื้นบ้าน ฯลฯ        
9.      โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
9.1    สร้างผู้นำ อช. ให้เป็นเจ้าแห่งข้อมูล สามารถวิเคราะห์ และนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ใช่โชว์
ปัญหาอย่างเดียว ต้องตอบให้ได้ว่า โครงการนี้เกิดจากข้อมูลอะไร ประสานผู้นำท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนโครงการ ผ่านแผนพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม
9.2    จัดทำเมนูอาชีพ เป็นทางเลือกให้ครัวเรือนเป้าหมายตามความถนัด และความต้องการ
9.3    จัดทำเมนูโครงการ ถ้าตกเกณฑ์ในเรื่องนี้ โครงการที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง โครงการส่วนใหญ่
แก้ปัญหาได้หลายตัวชี้วัด เช่น โครงการตลาดนัดชุมชน ลานคนเมือง ถนนคนเดิน ฯลฯ
9.4   
ส่งเสริมการออมทรัพย์เพื่อการผลิต ใช้เงินทุนที่มีอยู่ในชุมชน โดยใช้หลักการพึ่งพาตนเอง  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (ใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน)
9.5    จัดกิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งเก่าและใหม่ ที่แสดงหรือสื่อถึง การนำหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต
10.   การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
10.1    ประชุม ชี้แจงทำความเข้าใจกับ คกส.ในช่วงเปลี่ยนผ่าน โอนย้ายกองทุนฯมาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการพัฒนาชุมชน
10.2    คกส.ที่หมดวาระแล้วยังคงให้ปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนจาส่วนกลาง
10.3  โครงการที่อยู่ระหว่างการอนุมัติ หรือโอนเงินให้ชะลอไปก่อน เนื่องจากรอแนวทางการปฏิบัติที่
ที่ชัดเจน
10.4    เร่งดำเนินการโครงการที่ค้างชำระ โดยแยกกลุ่มปัญหาให้ชัดเจน เช่น ตั้งใจไม่คืน ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ทำตามวัตถุประสงค์ รวมถึงวิธีแก้ไขที่อำเภอ/จังหวัด ได้ดำเนินการไปแล้ว ฯลฯ และใช้มาตรการทั้งทางกฎหมาย และทางสังคมในการแก้ไขปัญหาต่อไป
10.5    ให้จัดทำฐานข้อมูล บัญชี งบดุลต่างให้เป็นปัจจุบันเพื่อรองรับการถ่ายโอน
กลยุทธ์ในการทำงาน
1.      ต้องมีอุดมการณ์ในการทำงาน
2.      ต้องสร้างภาคีในการทำงาน
3.      ต้องรู้จัก บูรณาการคน งาน เงิน (ทำงานเชิงกลยุทธ์)
4.      ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้เป็น เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
5.      ต้องมีแผนในการขับเคลื่อนทุกกิจกรรม
6.      ต้องน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
 กฎระเบียบ/แนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

                   หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการมีส่วนร่วม ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง หลักประชาธิปไตย ความโปร่งใส จารีตประเพณี ความจริงใจ และจริงจัง